#1 tech recruiter in thailand

การสัมภาษณ์งานด้านไอที (ตอนที่ 2)

เคล็ดลับเพื่อการสัมภาษณ์งานด้าน  IT  ให้ประสบความสำเร็จ (ตอนที่ 2)

ในตอนที่ 1 เราพูดคุยเกี่ยวกับวิธีต่างๆที่ช่วยเตรียมพร้อมคุณก่อนไปสัมภาษณ์งาน  สำหรับตอนที่ 2 นี้ เราจะเสนอเกี่ยวกับเทคนิคการรับมือ ขณะสัมภาษณ์ให้ประสบความสำเร็จ

ในหลายๆบริษัทมักจะมีคนกลุ่มหนึ่งที่คอยสัมภาษณ์ผู้สมัครแต่ละคน อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในตอนที่ 1 คุณควรที่จะลองหาดูว่าใครจะเป็นผู้สัมภาษณ์ คุณ หากไม่ทราบชื่อเขา อย่างน้อยที่สุดคุณควรทราบตำแหน่งของเขาในบริษัท  ถ้าสุดท้ายแล้วคุณไม่สามารถหาข้อมูลของเขามาได้ ดังนั้นก็ควรจะถามผู้สัมภาษณ์หลังจากเริ่มสัมภาษณ์ และแนะนำตัวเอง สิ่งนี้สำคัญเพราะคุณจะสามารถนำเสนอตัวเองได้แตกต่างออกไป ในแต่ละประเภทของผู้สัมภาษณ์

1.) หากผู้สัมภาษณ์ของคุณมาจากแผนกทรัพยากรบุคคล

การสัมภาษณ์ของแผนกทรัพยากรบุคคล หรือ HR มักจะพยายามประเมินความเป็นไปได้ที่คุณจะเข้ากับวัฒนธรรมของบริษัท รวมไปถึงประวัติการทำงานทั่วไปของคุณ (ตัวอย่างเช่น เหตุผลของการเปลี่ยนงานก่อนหน้านี้) และเป้าหมายระยะยาวด้านหน้าที่การงานของคุณ  เอชอาร์ที่ดีอาจจะพยายามหา ทักษะอื่นๆที่ส่งเสริมการทำงาน เช่นวิธีการรับมือกับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง หรือทักษะการทำงานเป็นทีม และ(หากคุณสัมภาษณ์ในตำแหน่งที่สูง) ความเป็นผู้นำ และทักษะการบริหารงาน

ผู้สัมภาษณ์ควรฟังคำถามอย่างตั้งใจในขณะที่กำลังถูกถาม  คิดก่อนที่จะพูด และตอบคำถามชัดเจน ตรงประเด็น ไม่หลุดไปหัวข้ออื่น ไม่พูดยาวจนเกินไป และไม่พูดวนไปวนมา ยกเว้นแต่ คุณจะแสดงให้เห็นว่าคุณได้ทำการบ้านมาก่อนการสัมภาษณ์ เช่นการกล่าวถึงความสำเร็จ หรือประสบการณ์ของคุณที่อาจจะเกี่ยวข้องกับบริษัท

การสัมภาษณ์ของ HR  จะไม่ถามคุณในเรื่องทางเทคนิคมากนัก และจะไม่ประเมินคุณทางด้านประสบการณ์การทำงานเชิงเทคนิค  อย่าใช้ศัพท์ทางเทคนิค เพราะมันไม่ได้สร้างความประทับใจให้แก่ผู้สัมภาษณ์ และจะทำให้เขาหรือเธอรู้สึกว่าคุณไม่สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมงานที่ไม่ได้ทำงานเชิงเทคนิคได้

HR อาจไม่สามารถบอกคุณได้นักเกี่ยวกับลักษณะเทคนิคของงาน แต่เขาหรือเธอก็มักจะมีความคิดดีๆว่าอะไรคือสิ่งที่จำเป็นต้องมีเพื่อจะทำให้ประสบความสำเร็จในการทำงานที่บริษัท นี่เป็นโอกาสอันดีที่จะถามผู้ให้สัมภาษณ์ถึงตัวบริษัทและธุรกิจของบริษัท เพื่อจะเติมเต็มในสิ่งที่อาจจะไม่สามารถศึกษามาได้ก่อนที่จะมาสัมภาษณ์

2.) หากผู้สัมภาษณ์ของคุณมาจากแผนกไอที

นี่เป็นโอกาสที่คุณจะถามคำถามอย่างชาญฉลาด เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่บริษัทใช้ และวิธีการทำงานที่เฉพาะเจาะจงของพวกเขา รวมไปถึง การพัฒนา, การติดตั้ง, การ support ต่างๆ ดังเช่น ตัวอย่าง ถ้าคุณเป็นนักพัฒนา คุณอาจจะถามเรื่องเกี่ยวกับโครงสร้างของแอพลิเคชั่น (web services? หรือ client server?) หรือเครื่องมีในการพัฒนาที่พวกเขาใช้  คุณอาจจะอยากรู้ว่าที่บริษัทนั้นใช้สไตล์ในการพัฒนาซอฟท์แวร์แบบไหน แบบ waterfall หรือแบบ agile

เป็นเจ้าหน้าที่เทคนิค คุณควรทำให้เขาเห็นว่าคุณมีความหลงไหลและชื่นชอบในเทคโนโลยี ตัวอย่างเช่น หากคุณถูกถามคำถามเกี่ยวกับแอพพลิเคชั่นที่คุณเคยพัฒนา หรือเคยได้ติดตั้ง หรือ network infrastructure ที่คุณเคยซัพพอร์ท ลองกล่าวถึงสิ่งที่คุณเคยได้ทำและภาคภูมิใจ, ปัญหาที่คุณเคยได้ร่วมแก้ โดยเฉพาะ value ที่คุณได้สามารถส่งไปถึงยูสเซอร์ มันไม่น่าเกลียดหากคุณจะโชว์เทคนิคหรือทักษะเล็กๆน้อยๆ ที่คุณมี แต่ไม่ใช่ถึงกับว่าทำเป็นผู้รู้ในทุกสิ่ง โดยทั่วไปแล้ว มันเป็นการดีที่คุณจะกล่าวถึงประสบการณ์ที่สามารถโยงไปถึงตำแหน่งงานหรือสภาพแวดล้อมของในบริษัทนั้น ในเรซูเม่ของคุณอาจจะไม่ชัดเจนพอ และในบางที บุคคลที่สัมภาษณ์คุณนั้นจะจดจำคุณได้ดียิ่งขึ้น หากคุณได้พูดถึงความคุ้นเคยเกี่ยวกับเทคโนโลยีหรือเนื้องานของคุณในระหว่างการสัมภาษณ์

3.) หากผู้สัมภาษณ์ของคุณมาจากผู้ใช้ลำดับสุดท้าย (end-user)

สำหรับงาน ไอทีในปัจจุบัน บางบริษัทอาจจะให้ผู้ใช้ลำดับสุดท้ายเป็นผู้สัมภาษณ์ผู้สมัครงานเอง การสัมภาษณ์แบบนี้เป็นส่วนช่วยในการประเมินความสามารถในการทำงานร่วมกับองค์กร เช่นเดียวกับการสัมภาษณ์กับ HRแต่มันอาจจะมาจากอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ แผนกของผู้ใช้งานบางส่วนอาจจะมีการทำงานเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิดกับตำแหน่งงานด้านไอที เช่น Business Analysts ที่คอยแก้ปัญหาแอพลิแคชั่นใหม่ๆ  หรือ IT Support Engineers ทีต้องต่อดูแลลูกค้า

เช่นเดียวกับการสัมภาษณ์จาก HR  คุณควรที่จะหลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์เทคนิคมากจนเกินไป การถามเกี่ยวกับความคาดหวังของเค้าและเธอเกี่ยวกับไอที ถ้าคุณสามารถที่จะเชื่อมโยงความคาดหวังเหล่านั้นกับงานของคุณก่อนหน้านี้  บรรยายประสบการณ์เหล่านั้น เป็นการนำเสนอตัวเองที่ดีที่ช่วยให้ผู้สัมภาษณ์สะดวกสบายมากขึ้นและคุณเองก็เข้าใจความต้องการของบริษัทต่อตำแหน่งนี้เช่นกัน

สำหรับการสัมภาษณ์ทั้ง 3 แบบนี้  คุณต้องจำไว้เสมอว่าการฟังคำถามที่กำลังถูกถามอย่างตั้งใจ และให้ความสำคัญต่อคำตอบที่เกี่ยวข้อง (เกี่ยวข้องกับผู้ที่ถามคำถาม)  และต้องแน่ใจว่าคุณจะไม่ถูกเข้าใจผิด ว่ากำลังดูถูก คนที่ไม่ได้มีความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีเหมือนคุณ

th