#1 tech recruiter in thailand

ทำไม? การเริ่มทำงานที่ Google จึงแตกต่างจากที่อื่น

คุณ Alexander เคยทำงานที่ Amazon และ Microsoft ในฐานะ Software Engineer มาก่อน และตอนนี้เขาทำงานที่ Google ทำให้เขามีโอกาสเห็น Onboarding Processes มาหลากหลายรูปแบบ และเขาคิดเสมอว่าทุกบริษัทคงมีรูปแบบคล้าย ๆ กัน แต่พอได้มาร่วมงานที่ Google ทำให้เขาเปลี่ยนความคิด มาดูกันว่าอะไรทำให้เขาคิดอย่างนั้น กับบทความ ทำไม? การเริ่มทำงานที่ Google จึงแตกต่างจากที่อื่น จากประการณ์ของคุณ Alexander

คุณ Alexander ทำงานเป็น Software Engineer ที่ Google โดยเขาเคยคิดว่าการเข้าร่วมทำงานไม่ว่าจะกับบริษัทไหน ก็คงมีรูปแบบ Onboarding Processes เหมือน ๆ กันทุกบริษัท แต่เมื่อเขาเข้าร่วมทำงานกับ Google ก็ทำให้ความคิดของเขาเปลี่ยนไป เนื่องจากเขาสามารถแก้ไข Code ได้ตั้งแต่วันแรกที่ร่วมงานกับ Google และนี่คือ 4 บทเรียนที่ได้เรียนรู้ จาก Google ในฐานะ Software Engineer

1. เรียนรู้ Product จากมุมมองของลูกค้า

ไม่ว่าคุณกำลังพัฒนา Product ใดอยู่ Product นั้นก็ควรตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งการเข้าใจความต้องการเหล่านั้นจะสอนคุณว่า:

      • ทำไมคุณถึงทำงานใน Project นั้น ๆ
      • สิ่งที่ Product ทำได้ดี และทำได้ไม่ดี

หากคุณกำลังทำงานหรือพัฒนาเกี่ยวกับ Subtitles (คำบรรยาย) ของ YouTube คุณจะรู้สึกสนใจใน Project ของคุณมากขึ้น หากคุณรู้ว่า Subtitles ถูกใช้บ่อยเพียงใด และเหตุใดการเปลี่ยนสีข้อความตามพื้นหลังจึงเป็นสิ่งสำคัญ

วิธีที่เร็วที่สุด ในการเริ่มต้นเรียนรู้เกี่ยวกับ Product ของคุณ คือ

      • อ่าน Public Relations Document (PRD) หรือเอกสารข้อเสนอทางธุรกิจสำหรับ Project (Business Proposal Document)
      • โต้ตอบกับ Product ในฐานะ User ทั่วไป เพื่อทำความเข้าใจจุดอ่อน และจุดแข็ง

เมื่อคุณได้เรียนรู้แล้วว่า Product คืออะไร คุณจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า Metrics ใดบ้างที่มีความสำคัญ และเพราะเหตุใด

2. เรียนรู้เกี่ยวกับ Metrics ที่สำคัญที่สุดของ Product

การเรียนรู้ว่า ทีมของคุณกำลังติดตาม Metrics ใดสำหรับ Product นั้น เป็นวิธีที่ง่ายในการกำหนดสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวกับ Product

      • การแปล Subtitles เป็นภาษาต่าง ๆ มีความสำคัญหรือไม่?
      • หรือสิ่งสำคัญเหนือกว่านั้นคือ การที่ Subtitles ปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่อง?

ไม่ว่า Product นั้นจะเป็นอะไรหรือเกี่ยวกับอะไร การทำความเข้าใจ Metrics ที่สำคัญที่สุด ที่เกี่ยวกับ Product นั้น จะช่วยสอนคุณได้อย่างรวดเร็วว่า อะไรที่สำคัญและไม่สำคัญ สำหรับ Product ของคุณ

ไม่ใช่ทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ Subtitles จะมีความสำคัญ ซึ่ง Metrics จะบอกคุณว่า สิ่งไหนมีความสำคัญอย่างไร และ Metrics เหล่านั้น จะบอกคุณด้วยว่า Bugs ตัวใดที่คุณควรใส่ใจ

3. อ่าน Code l อ่าน Bugs l แก้ไข Bugs

Code and Bugs

ตอนนี้คุณมีโอกาสที่จะเลือก Bug ง่าย ๆ โดยจาก Bug ที่คุณได้รับมอบหมาย คุณจะมีโอกาสในการเจาะลึก Code และให้เหตุผลว่ากำลังทำอะไรอยู่และทำอย่างไร คุณจะเห็นวิธีการแปล Subtitles การนำเสนอบนหน้าจอ และการสลับเปิดปิด

แม้ว่าการได้รับหมอบหมายงานให้หา Bug และแก้ไข นั้นดูปกติเหมือนบริษัทอื่น ๆ แต่ที่ Google ได้สร้างกรอบความคิด หรือ Mindset ขึ้น เพื่อแก้ไข Bugs ไว้แล้ว โดยทันทีที่คุณลงมือทำ หากมีอะไรบางอย่างใน Code ที่ดูแล้วไม่ค่อยสมเหตุสมผล คุณสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองทันที แม้ว่าจะไม่ใช่หนึ่งใน Bugs ที่คุณได้รับมอบหมายงานมาก็ตาม

ยกตัวอย่างเช่น หาก Bug ของคุณ คือ การแก้ไขการสลับเปิดและปิด Subtitles และคุณสังเกตว่าคำว่า “เปิด/ปิด” ยังไม่ได้แปลภาษา คุณสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง หากคุณรู้ว่าวิธีว่าต้องทำอย่างไร

การที่คุณได้ลองแก้ไข Code หรือ Bug ที่มากกว่าสิ่งที่คุณได้รับมอบหมาย จะช่วยทำให้คุณได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นหรือพัฒนา มากกว่า การแก้ไขเฉพาะเรื่องที่ทราบหรือที่เชี่ยวชาญอยู่แล้วเท่านั้น

4. อ่าน “เอกสารการออกแบบ” l นิยาม “คำศัพท์”

หลังจากแก้ไข Bugs เพียงพอแล้ว คุณจะเข้าใจวิธี Contribute ใน Codebase ได้ดีขึ้น ซึ่งเมื่อคุณเริ่มทำงานใน Project ใด ๆ แน่นอนว่ามักจะรู้สึกหนักใจในการทำความเข้าใจ Flow ตั้งแต่ต้นจนจบของ Product เพราะมีข้อมูลจำนวนมากให้เรียนรู้อยู่เสมอ

แต่การอ่าน Code นั้น อาจไม่เพียงพอในการเรียนรู้ระบบทั้งหมดเสมอไป ดังนั้น คุณจะต้องอ่าน “เอกสารการออกแบบ” ที่ทีมของคุณเขียนขึ้นเมื่อต้องออกแบบระบบนั้น ๆ

ขอให้ใช้เวลาอ่านเอกสารและ Focus กับคำศัพท์เฉพาะของระบบที่คุณไม่รู้จัก หากมี “Toggling Service” ให้เจาะลึกเพื่อเรียนรู้ว่ามันทำอะไร และทำไมมันถึงมีอยู่ หากมี “Translation Service” ให้ทำความเข้าใจวิธีการทำงานและวิธีที่ทีมของคุณใช้

ดังนั้น พอถึงเวลาจริง การพยักหน้าทำเหมือนว่าคุณเข้าใจระบบ เมื่อคนอื่นพูดถึงสิ่งนั้น ๆ มันจะไม่ช่วยอะไรคุณเลย ลองเรียนรู้คำศัพท์ที่คนอื่นใช้ และคุณจะใช้เวลาน้อยลงในการเดาว่า “Translation Service” คืออะไร และคุณจะมีเวลามากขึ้นในการทำความเข้าใจว่า เหตุใดจึงเกิดปัญหาและวิธีที่จะแก้ไขมัน

และทั้งหมดนี้ก็คือเหตุผลว่า ทำไม? การเริ่มทำงานที่ Google จึงแตกต่างจากที่อื่น

หวังว่า 4 บทเรียนที่ Alexander ได้เรียนรู้ จาก Google ในฐานะ Software Engineer จะมีประโยชน์สำหรับทุกท่านนะคะ

คุณสามารถ หางาน IT หรือส่ง Resume มาสมัครงานกับเราได้ที่ https://www.ismtech.net/submit-your-resume ให้ ISM Technology Recruitment เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย ให้คุณได้ “ชีวิตการทำงานในแบบที่คุณต้องการ”

ISM เชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ เปิดทำการมากว่า 30 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย

Source: https://levelup.gitconnected.com/

บทความที่ใกล้เคียง

8 Google Chrome Extensions สำหรับ Web Developers

Extensions ช่วยให้เราลดเวลาในการทำงานได้มากขึ้น ขอแนะนำ 8 Google Chrome Extensions สำหรับ Web Developers เพื่อช่วยให้คุณประหยัดเวลาในการทำงาน

6 Free Google Certifications สำหรับ Developers

“การเรียนรู้ไม่มีวันสิ้นสุด” การที่เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ แถมได้ Certifications แถมยังนำไปกรอกใน Resume ได้อีกด้วย มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

th