#1 tech recruiter in thailand

สาเหตุที่เปลี่ยนใจมาใช้ Open Source

บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของ Bob Roebling ซึ่งเปลี่ยนใจหันมาใช้ Open Source ทั้งที่เมื่อก่อนเขาใช้งานแต่ Software ที่มีลิขสิทธิ์ เป็นหลัก แต่เพราะสาเหตุใดที่เปลี่ยนใจมาใช้ Open Source เรามาลองดูเหตุผลของเขากัน

ช่วงที่ Bob กำลังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่จะใช้ Software ที่มีลิขสิทธิ์ เขาไม่ชอบอะไรที่เป็น Open Source เพราะลึก ๆ แล้วยังไม่แน่ใจในเรื่อง Security และ Privacy ของ Open Source เขาคิดว่าคนร้ายมักจะมองไปที่ Open Source และทำการเปลี่ยนแปลง Code เพื่อให้มีช่องโหว่หรือหากพบช่องโหว่ก็จะใช้ประโยชน์จาก Open Source เพื่อเข้าถึง Computer ของเขา ส่วน Software ที่มีลิขสิทธิ์นั้น เขาเชื่อว่าหากจ่ายค่าลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องแล้ว ก็จะปลอดภัยและรอดพ้นจากผู้ไม่ประสงค์ดี

รายงานของ Malware ทั้งหมดบนโทรศัพท์ Android และการที่ไม่มี Malware บน iPhone นั้นได้แสดงถึงความเชื่อของ Bob ที่เขียนบทความโต้แย้งไว้ตอนที่เรียนอยู่ว่า ทำไม Software ที่มีลิขสิทธิ์ ถึงดีกว่า Open Source

อาจารย์ของ Bob รู้สึกประหลาดใจ พร้อมกับกล่าวว่า “โดยปกติเรามักจะเห็นว่า นักเรียนส่วนใหญ่จะปกป้อง Open Source” มิหนำซ้ำ สิ่งที่ Bob เขียนยังทำให้อาจารย์ของเขากลับชื่นชม Software ที่มีลิขสิทธิ์เสียด้วยซ้ำ และ Bob ก็ยังยืนกรานว่า เขาจะทำให้คนที่โต้แย้งพูดไม่ออก ในตอนท้ายของบทความอีกด้วย

หลังจากเรียนจบและทำงานได้สักระยะหนึ่ง เขาก็เริ่มเข้าสู่แวดวงพัฒนา Software โดยงานแรกของเขาก็คือ COBOL Developer ซึ่งช่วงแรกมันยากมากสำหรับเขา วิธีการที่เขาจะได้รับความรู้เกี่ยวกับวิธีการเขียน Program ด้วยภาษา COBOL ก็คือ จาก Website และจาก Senior Developer ที่ทำงานในแผนกเดียวกันกับเขา และเขาก็ทำงานกับ Software ที่มีลิขสิทธิ์

ไม่กี่ปีต่อมา Bob ก็ลาออกเพื่อทำงานกับบริษัทใหม่ เนื่องจากเขารู้สึกว่า น่าจะช่วยทำให้เขาสามารถเปลี่ยนจาก Structured Programming ไปเป็นภาษา Object-Oriented ที่ใหม่กว่า เขาต้องเริ่มต้นจากที่ไหนสักแห่งที่ซึ่งพวกเขาก็ต้องการ COBOL Developer ด้วย นั่นเป็นแนวทางของ Bob และหลังจาก 1 ปีที่ Bob ย้ายไปที่แผนกอื่น เขาก็เริ่มเขียน Python และ Deploy Code ไปยัง Enterprise Linux Server

เมื่อเริ่มเข้าที่เข้าทางกับงานใหม่ Bob ก็เริ่มพบกับ Resource ที่มีมากมายมหาศาลที่ทำให้เขาสามารถทำงานของเขาได้ เขาได้พบกับ Community กลุ่มหนึ่งใน Forum Slack ซึ่งอยู่ในเมืองของเขาซึ่งทำหน้าที่เป็นกลุ่มที่คอย Support สำหรับการเรียนรู้ Programming และช่วยคุณให้สามารถทำงานผ่านปัญหาต่าง ๆ ใน Code ของคุณได้

นี่เป็นจุดที่ Bob เริ่มเห็นว่า Open Source สามารถพัฒนาเครื่องมือใหม่ ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นได้อย่างไรบ้าง เมื่อเขาอยู่ใน Community มากขึ้น เขาก็สังเกตเห็นบางสิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษ คือ ผู้คนมีความใส่ใจในการช่วยเหลือผู้อื่น มีหลายคนที่สร้างเครื่องมือแบบฟรี ๆ ขึ้นมา เพื่อช่วยให้ผู้อื่นสามารถทำงานให้สำเร็จได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยที่กลุ่มคนเหล่านั้นก็ไม่ได้ต้องการสิ่งตอบแทนใด ๆ จากสิ่งที่พวกเขาสร้างเลย แต่ก็มีหลายคนที่ได้รับเงินบริจาคเพื่อเป็นการสนับสนุนให้พวกเขาได้พัฒนาชิ้นงานของพวกเขาต่อไป

เมื่อพูดถึง Software ที่มีลิขสิทธิ์ มันมักจะเกี่ยวกับเรื่องรายได้ที่เป็นตัวเงินเป็นหลัก แต่สำหรับ Open Source แล้วมันเกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้เพียงแค่เล็กน้อย เมื่อกล่าวถึง Open Source เรามักจะรับรู้กันในเรื่องการสร้างวัฒนธรรมที่ผู้คนมีความใส่ใจเกี่ยวกับการช่วยเหลือผู้อื่น มากกว่าการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อหารายได้

ไม่ใช่แค่คนเพียงคนเดียวที่จะทำงานกับ Open Source Software เพราะเมื่อ Project มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ผู้คนจำนวนมากก็จะกระโดดเข้ามามีส่วนร่วมใน Project เพื่อช่วยแก้ไข Bug, ปิดช่องโหว่ และเพิ่ม Feature ใหม่ ๆ ซึ่งนั้นหมายความว่า ช่องโหว่แบบ Zero-Day จะได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็ว บางครั้งอาจได้รับการแก้ไขก่อนที่จะมีการเผยแพร่ต่อสาธารณะด้วยซ้ำ

Operating Systems ที่มีลิขสิทธิ์ จะมีการ Update เมื่อถึงกำหนดระยะเวลาของมัน อย่าง Windows จะมีการ Update Patch ประมาณเดือนละ 1 ครั้ง ในขณะที่ MacOS จะมีการ Update Patch ทุก ๆ ไตรมาส โดย Patch เหล่านี้มีทั้ง การ Update เล็ก ๆ น้อย ๆ และ Patch ด้าน Security สำหรับ Enterprise Linux โดยทั่วไปจะได้รับการ Update Patch เดือนละครั้งโดยใช้ Community Patches ที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบที่ครอบคลุมแล้ว แต่รุ่นที่เป็น Non-Enterprise Linux จะได้รับการแก้ไขทันทีที่มีการ Update

Software ที่มีลิขสิทธิ์ มักจะได้รับการ Update Patch ผ่าน Operation System แต่ Open Source Software จะมีการ Update Patch ได้ตามต้องการ ซึ่งสิ่งนี้นำไปสู่ประเด็นที่ว่า Open Source Software มีความปลอดภัยมากกว่า Software ที่มีลิขสิทธิ์

จากที่กล่าวมา คุณต้องระวังเกี่ยวกับ Software ที่คุณใช้งานด้วย แม้ว่า Bob จะชอบ Open Source Software แต่เขาก็ใช้ Product ของ Apple เป็นหลักเพราะ Apple ได้รับการปฏิบัติด้าน Security และ Privacy ที่ชัดเจนที่สุด แม้ว่า Bob จะรู้เกี่ยวกับ iCloud Hacks และการที่ Apple คิดราคาอุปกรณ์ของพวกเขาสูงไปหน่อยก็ตาม แต่ Bob ไม่ชอบที่ Microsoft เก็บข้อมูลในสิ่งที่เขาทำบน Computer กลับไป และไม่ชอบที่ Google เก็บข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้คนทำใน Google Account ของพวกเขา

ส่วน Google Accounts ก็เป็นลักษณะเดียวกับ Windows Operating System คือมีลิขสิทธิ์ หากทั้ง Google และ Windows ไม่มีลิขสิทธิ์ คุณก็สามารถหยุดเรื่องการที่พวกเขาจะเก็บข้อมูลการใช้งานของพวกเราได้ Bob มีประสบการณ์ส่วนตัวที่ไม่ดีต่อวิธีปฏิบัติเมื่อเร็ว ๆ นี้ของ Google คือ Google ได้ Scan Email ของเขา แล้วแสดงรายการสั่งซื้อทั้งหมดที่ตัดผ่านบัตรเครดิตที่ไม่ได้ผูกกับ Account ของเขา แล้วแสดงรายการเหล่านั้นไว้ใน Wallet ที่อยู่ใน Account ของเขา นี่ถือเป็นวิธีที่รุกล้ำความเป็นส่วนตัวมากเกินไป ไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจนในสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อ Bob ปิด Feature นั้น ทำให้เขารู้สึกว่า นี่เขาปิดมัน หรือแค่ซ่อนมันจากตัวเขาเอง กันแน่?

Bob ยินดีที่จะใช้ Linux แม้ว่าเขาจะไม่มีเวลาเข้าไปช่วยใน Open Source Project เลย แต่สักวันหนึ่งเขาจะสามารถช่วยในการทำให้ Software ที่ใช้งานอยู่นั้นดีขึ้น วัฒนธรรมของ Open Source เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ Bob ตัดสินใจลาออกจากงาน แต่แนวทางปฏิบัติที่ซ่อนเร้นจากบริษัทที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ทำให้เขาไม่อยากหันหลังกลับไปใช้งานอีก

หมายเหตุ: บทความนี้เป็นเพียงความเห็นและประสบการณ์ส่วนตัวของเจ้าของบทความนี้เท่านั้น มิได้เป็นการจงใจที่จะโจมตี Software ที่มีลิขสิทธิ์ แต่อย่างใด

ISM Technology Recruitment Ltd. (#1 Tech Recruiter in Thailand) เราเชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ เปิดทำการกว่า 28 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย หากคุณเป็นคน IT ที่อยากทำงานท้าทายและร่วมงานกับองค์กรชั้นนำ สามารถฝากประวัติการทำงาน (Resume) ของคุณไว้กับ ISM ได้ที่ https://www.ismtech.net/submit-your-resume แล้วคุณจะพบว่าอนาคตและโอกาสก้าวหน้ากำลังรอคุณอยู่

Source:  https://medium.com/

th