ใครที่ทำงานด้านไอที คงจะเข้าใจถึงเรื่องนี้เป็นอย่างดี คือ เรื่อง “ความเครียด” บางกลุ่มงานเครียดกับ คน (User,ลูกค้า,หัวหน้า,เพื่อนร่วมงาน) บางกลุ่มเครียดเกี่ยวกับพวกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ บางกลุ่มเครียดกับการเขียนโปรแกรม/พัฒนาโปรแกรม ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้ว ไม่ว่าสาขาอาชีพไหนก็เจอกันทั้งนั้น เพียงแต่ใครจะจัดการกับความเครียดได้มากน้อยแค่ไหน ที่ ISM ยกเรื่องนี้มาก็เพราะว่าเจอผู้สมัครหลายๆท่านที่อยากเปลี่ยนงานเพราะรู้สึกว่า เครียดจนทนไม่ไหวแล้ว ส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจหลายอย่าง ความเครียดเลยกลายเป็นปัจจัยต้นๆ ที่ทำให้คนเปลี่ยนงาน วันนี้เรามาดูกันว่า คนไอที มี “ความเครียด” ระดับไหนกันบ้าง และส่งผลอะไรบ้าง
1. ความเครียดระดับต่ำ
ในระดับนี้ ถือเป็นความเครียดขนาดน้อยๆ และจะหายไปในระยะเวลาไม่นาน เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันทั่วไป ซึ่งความเครียดระดับนี้ ไม่ส่งผลคุกคามต่อการดำเนินชีวิต โดยทั่วไปแล้ว คนที่เจอความเครียดระดับนี้ จะสามารถปรับตัวได้เองอัตโนมัติ เคยใช่ไหมที่พอรู้สึกเหมือนจะทำงานไม่ทัน แล้วหัวใจมันเต้นเร็ว ตื่นเต้น เลือดสูบฉีดเร็วขึ้นชั่วขณะ แต่พอส่งงานแล้วก็รู้สึกโล่งอก นี่แหละครับ คือ ความเครียดระดับต่ำ
2. ความเครียดระดับปานกลาง
พอมาระดับที่ 2 เป็นความเครียดที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นกว่าระดับต่ำ เป็นความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เพราะมีสิ่งคุกคาม หรือพบเหตุการณ์สำคัญอะไรก็ตามในสังคม บุคคลกลุ่มนี้จะมีปฏิกิริยาตอบสนองออกมาใน ลักษณะ มีความวิตกกังวล เกิดความกลัว ฯลฯ ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติทั่ว ไป ไม่รุนแรงจนก่อให้เกิดอันตรายแก่ ร่างกาย เป็นระดับความเครียดที่ทำให้บุคคลเกิดความกระตือรือร้น จะว่าไปแล้วถือเป็นความเครียดที่ส่งผลดีต่อตัวเรา เช่น Programmer ที่ต้องเขียนโปรแกรม มี deadline ที่จะต้องส่งวันนี้ตอนเย็น แต่ยังเหลือสิ่งที่ต้องทำอีกเยอะ เลยทำให้ Programmer ต้องโฟกัสกับงาน มีสมาธิ และตั้งใจทำงานนั้นจนเสร็จ หรือ ถ้าส่งงานไม่ทันแล้วอาจจะได้รับบทลงโทษบางอย่าง เลยทำให้ต้องตั้งใจทำงานให้เสร็จตามกำหนดให้ได้ เป็นต้น
3. ความเครียดระดับสูง
ความเครียดระดับนี้ เป็นระดับที่คนเราได้รับรู้ หรือต้องเจอกับเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความ เครียดสูง แต่เราไม่สามารถปรับตัว ทำให้ความเครียดมันลดลงได้ในระยะเวลาอันสั้น ระดับนี้ถือว่า เริ่มอยู่ในเขตอันตราย หากบุคลนั้นไม่ได้รับการบรรเทาจากความเครียด ก็จะนำไปสู่ความเครียดในระดับที่เรียกว่า เรื้อรัง จนทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ในภายหลังได้ เช่น Project Manager ที่ต้องควบคุมทั้งงานทั้งลูกทีม อาจจะเกิดความเครียดว่า งานจะเสร็จหรือไม่ แล้วลูกทีมจะทำกันทันไหม ถ้าเกิดลูกน้องในทีมป่วยหรือลางานขึ้นมา โปรเจคงานต่างๆ จะยังสามารถดำเนินต่อได้อย่างราบรื่นหรือไม่ เป็นต้น เพราะว่าแต่ละโปรเจคอาจกินเวลานาน เลยทำให้ความเครียดอาจจะสะสมมากจนรู้สึกไม่มีความสุขในการทำงานเลยก็ได้
4. ความเครียดระดับรุนแรง
ความเครียดระดับนี้ เป็นความเครียดระดับสูงที่ดำเนินติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนาน จนทำให้บุคคลนั้นมีความล้มเหลวในการปรับตัว จนเกิดความเบื่อหน่าย ท้อแท้ หมดแรง ควบคุมตัวเองไม่ได้ เกิดอาการทางกายและจิตใจ ถ้าปล่อยไว้นานๆ จนอาจมีโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ ในระดับนี้ ถือว่าเป็นความเครียดในระดับที่ดอันตรายมาก เพราะ เริ่มส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว บางคนเริ่มเป็นไมเกรน ปวดหัวบ่อยๆ อาหารไม่ย่อย อารมณ์เสียรุนแรงกว่าปกติ นอนไม่หลับ ความดันขึ้นสูง อาเจียน เป็นโรคกระเพาะ เป็นต้น หากคนไอทีทั้งหลายมีอาการเหล่านี้ แสดงว่าคุณเครียดมากแล้ว ควรต้องหาทางแก้ไขโดยเร็วที่สุด เพราะ มิเช่นนั้น คุณอาจเป็นโรคซึมเศร้า และอาจฆ่าตัวตายได้
วิธีลดความเครียดเบื้องต้น คือ ให้ระบายกับใครสักคนที่คุณไว้ใจ พยายามหาแง่ดีในชีวิต มองโลกในแง่บวก ทำสมาธิ สวดมนต์บ้าง การฟังเพลงหรืออกกำลังกายก็ช่วยคลายเครียดได้เช่นกัน ถ้ายังไม่ดีขึ้นคุณอาจจะต้องพบแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญให้ช่วยแก้ไขโดยด่วน คนไอทีท่านใดที่รู้สึกว่างานที่ทำอยู่มันเครียดซะเหลือเกิน จนอยู่ในระดับรุนแรง และไม่สามารถหาทางแก้ไขได้แล้ว บางทีการเปลี่ยนงานก็อาจจะเป็นทางออกสุดท้ายก็ได้
สำหรับคนไอทีที่อยากร่วมงานกับองค์กรชั้นนำ ได้ร่วมงานกับมืออาชีพ และมีโอกาสพัฒนาตัวเองในทุกๆ ด้าน ลองหาที่ปรึกษาดูสิครับ ISM เรามี IT Consultant ที่ให้คำปรึกษาที่ดีและหางานเหมาะสมให้กับคุณได้
ISM Technology Recruitment Ltd. (#1 Tech Recruiter in Thailand) บริษัทเราเชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ เปิดทำการย่างเข้าสู่ปีที่ 27 มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย หากคุณเป็นคน IT ที่อยากทำงานที่ท้าทายและร่วมงานกับองค์กรชั้นนำ ฝากประวัติการทำงาน (Resume) ของคุณไว้กับ ISM ได้ที่ https://www.ismtech.net/submit-your-resume แล้วคุณจะพบว่าอนาคตและโอกาสก้าวหน้ามากมายกำลังรอคุณอยู่
ข้อมูลอ้างอิง : เว็บไซต์กรมสุขภาพจิต http://www.dmh.go.th/