บริษัทไอทีระดับโลก ใช้เกณฑ์อะไรคัดเลือกพนักงาน?
อเมซอน สำหรับ Jeff Bezos ซึ่งเป็น CEO ของ Amazon มีเกณฑ์การคัดสรรบุคคลอยู่บนพื้นฐานสำคัญ 3 อย่าง คือ พนักงานคนนั้นจะต้องเป็นคนที่มีความสามารถจนหัวหน้างานรู้สึกชื่นชม และสามารถยกระดับความสามารถของทีมที่เขาจะไปร่วมงานด้วยได้ เพราะวิธีคิดของ Amazon คือการเลือกพนักงานคนใหม่คือการขับเคลื่อนบริษัทให้ก้าวไปข้างหน้ากว่าเดิม และคนๆ นี้จะต้องมีความโดดเด่นที่เรียกว่า “สุดขั้ว” ประเภทแฟนพันธุ์แท้หรือเซียนในเรื่องที่อาจจะไม่เกี่ยวกับการทำงานเลยก็ได้ ซึ่งกฏเกณฑ์นี้ก็ยิ่งทำให้ Amazon มีบุคลากรชั้นเยี่ยมเข้ามาในองค์กรเรื่อยๆ แถมมาตรฐานของคนก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามไปอีกด้วย
Jeff Bezos, chief executive officer of Amazon.com Inc.
แหล่งข้อมูล: Mashable.com
แอปเปิ้ล ครั้งหนึ่ง CNN ได้จัดอันดับให้ Apple เป็นบริษัทที่น่าชื่นชมที่สุดในโลก และหนึ่งที่เคล็บลับที่ สตีฟ จ็อบส์ ทำให้ Apple ก้าวมาถึงจุดนี้คือ “การมีพนักงานที่หลากหลาย” กล่าวคือ พนักงานในบริษัทไม่จำเป็นต้องจบจากมหาวิทยาลัยชื่อดังหรือจบสายวิทย์เท่านั้น เราจึงพบว่า Apple มีพนักงานที่หลากหลายทั้งนักดนตรี, ศิลปิน, นักเขียน หรือนักประวัติศาสตร์ ซึ่งพวกเขาเป็นทั้งนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ระดับเทพในเวลาเดียวกันด้วย ทั้งนี้ Apple เองก็มีโปรแกรมฝึกหัดสำหรับพนักงานใหม่ที่เรียกว่า Apple University ที่ให้พนักงานเรียนรู้และเสริมทักษะสิ่งที่จำเป็นเพื่อใช้พัฒนาในการทำงาน
Steve Jobs. Co-founder of Apple Computer Inc.
แหล่งข้อมูล: Thumbsup.in.th
กูเกิล ข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ The New York Times ที่ได้สัมภาษณ์ Laszlo Bock รองประธานอาวุโสฝ่ายจัดการบุคคลของกูเกิล ระบุว่า ในภาพรวมกูเกิลไม่ได้คัดเลือกคนจากเกรด ผลคะแนนหรือมหาวิทยาลัยที่จบ แต่เป็นคุณลักษณะเฉพาะของผู้สมัครที่จะต้องสอดคล้องกับสิ่งที่กูเกิลต้องการ แต่ Bock ก็ยังคงเน้นย้ำถึงความสำคัญของการศึกษาที่เป็นเสมือนการฝึกฝนความสามารถด้านต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในหลายๆอาชีพ เพียงแต่การศึกษาไม่ใช่สิ่งที่จะบอกว่าคุณมีความสามารถจริงๆ เพราะสังคมทุกวันนี้ให้ความสำคัญกับ “คุณสามารถทำอะไรได้จากสิ่งที่คุณรู้” มากกว่า รวมไปถึงให้ความสำคัญกับ soft skills คือความเป็นผู้นำ ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความสามารถในการประสานงาน การปรับตัวและการชอบที่จะเรียนรู้อยู่เสมอๆ มากกว่า
Laszlo Bock, senior vice president of people operations at Google.
แหล่งข้อมูล: The New York Times รูปภาพ: Businessinsider.com