#1 tech recruiter in thailand

ภัยเงียบทำลายอาชีพ ที่ Software Developer ทุกคนควรรู้

20.03.2025 The Silent Career Killer Most Software Developers Ignore

 

Software Engineer ทุกคนต้องเผชิญกับความท้าทายที่อันตรายยิ่งกว่า Bug ในการเขียน Code หรือระบบล่ม นับเป็นภัยคุกคามที่มองไม่เห็น ซึ่งจะค่อย ๆ กัดกร่อนศักยภาพในอาชีพการทำงาน จำกัดการเติบโตในอาชีพการงาน และเปลี่ยน Developer ที่มีความสามารถพิเศษให้กลายเป็นเพียงคนงานด้านเทคโนโลยีที่ไร้ค่า มารู้จักภัยเงียบนี้กันกับบทความ ภัยเงียบทำลายอาชีพ ที่ Software Developer ทุกคนควรรู้

โดยสามารถเรียกสิ่งนี้ว่า “Framework Dependency Syndrome” ซึ่งเป็นภาวะที่ทำลายอาชีพการทำงาน โดยทำให้ Engineer ที่มีความสามารถกลายมาเป็นแค่ช่างเทคนิคเขียน Code แทนที่จะเป็นผู้แก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง

ความเชื่อผิด ๆ: ความเชี่ยวชาญ = โอกาสในการจ้างงาน

Developer ส่วนใหญ่มักเชื่อว่าการเชี่ยวชาญ Framework หรือเทคโนโลยีเฉพาะนั้น จะสามารถรับประกันความมั่นคงของงานได้ ซึ่งความจริงแล้วไม่เป็นอย่างนั้นเลย ขอแบ่งปันความจริงอันน่าตกใจ: อันตรายที่แท้จริง

เมื่อคุณเริ่มพึ่งพา Framework เพียงอันเดียวมากเกินไป คุณก็กำลังสร้างอาชีพของคุณบนทางตัน เนื่องจากเทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ในปี 2023 วงจรชีวิตโดยเฉลี่ยของ Framework ยอดนิยม อย่าง JavaScript อยู่ที่ประมาณ 18 – 24 เดือน สิ่งที่ดูเหมือนล้ำสมัยในวันนี้ อาจกลายเป็น Code ที่ล้าสมัยในวันพรุ่งนี้ React, Angular หรือ Vue เป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ใช่คำจำกัดความของอาชีพ

ผลกระทบต่อโลกแห่งความเป็นจริง:

  • 62% ของ Developer ที่เชี่ยวชาญเฉพาะใน Framework เดียวประสบกับปัญหาการหยุดนิ่งในอาชีพ
  • บริษัทต่าง ๆ กำลังมองหา Engineer ที่มีความสามารถในการปรับตัวมากขึ้น ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้าน Framework
  • ระยะเวลาการทำงานโดยเฉลี่ยของ Developer ที่พึ่งพา Framework เฉพาะ มักจะต้องฝึกอบรมใหม่หรือเพิ่มทักษะในทุก ๆ 5 – 2 ปี

กับดักทางจิตวิทยาของการเสพติด Framework

ภาพลวงตาของ Comfort Zone ลองนึกภาพว่าคุณเป็น React Developer ที่สามารถสร้างแอปพลิเคชันที่ซับซ้อนได้แม้กำลังหลับตา คุณรู้จักทุกจุดที่สำคัญและเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพทุกประการ คุณรู้สึกว่าตัวเองเชียวชาญเหนือใคร แต่การรับรู้ถึงความพ่ายแพ้นี้ คือจุดอ่อนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคุณ

กลไกทางจิตวิทยาในการทำงาน:

  • อคติในการยืนยัน: คุณแสวงหาข้อมูลที่ยืนยันทักษะที่มีอยู่ของคุณ
  • Dunning-Kruger Effect: ความรู้ที่จำกัดสร้างภาพลวงตาของความเชี่ยวชาญ
  • Technological Stockholm Syndrome: คุณมีความผูกพันทางอารมณ์กับเทคโนโลยี ที่จำกัดการเติบโตของคุณ

*Dunning-Kruger Effect เป็นความรู้สึกภายในจิตใจ ที่คิดอยู่เสมอว่า “ตัวเองเก่งและมีความสามารถมาก” ทั้ง ๆ ที่มันอาจจะยังไม่เป็นเช่นนั้น ซึ่งตรงกันข้ามกับ คำว่า “Impostor Syndrome” หมายถึงคนเก่ง ที่ชอบคิดว่าตัวเองไม่เก่ง

แก่นแท้ของ Software Engineering

Software Engineering ที่แท้จริงไม่ได้เกี่ยวกับการรู้จัก Framework แต่เกี่ยวกับ:

การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking)

  • การแบ่งย่อยปัญหาที่ซับซ้อน
  • การออกแบบ Solution ที่มีประสิทธิภาพและปรับขนาดได้
  • การทำความเข้าใจประสิทธิภาพ ของอัลกอริทึม

Systems Perspective (มุมมองเชิงระบบ)

  • การมองเห็นและเข้าใจว่า Component ต่าง ๆ ส่งผลต่อภาพรวมอย่างไร
  • การทำความเข้าใจว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ โต้ตอบกันอย่างไร
  • การคิดออกแบบสถาปัตยกรรม

Continuous Learning Mindset (แนวคิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง)

  • การเรียนรู้ทักษะอย่างรวดเร็ว
  • การแก้ปัญหา โดยไม่คำนึงถึงเทคโนโลยี
  • ความอยากรู้ทางปัญญา

เรื่องราวการเปลี่ยนแปลงของ Crafting-Code

ในช่วงเริ่มต้นอาชีพการทำงาน เขาเป็น “ผู้เชี่ยวชาญ ด้าน React” ซึ่งเขาสามารถสร้าง Application ที่น่าทึ่งได้เร็วกว่าใคร ๆ

แต่ในระหว่างการปรับโครงสร้างใหม่ของบริษัทใหญ่ เขาได้ค้นพบความจริงอันโหดร้าย: ทักษะเฉพาะทางของเขากลับกลายเป็นภาระของบริษัท

จุดเปลี่ยนของชีวิต:

  • ไม่มีงานในช่วงที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง
  • ตระหนักได้ว่าทักษะถูกจำกัด
  • มุ่งมั่นที่จะเป็น Software Engineer ตัวจริง ไม่ใช่แค่ช่างเทคนิคด้าน Framework

กลยุทธ์เชิงปฏิบัติเพื่อความยืดหยุ่นในการทำงาน: กฎการเรียนรู้ 70–20–10

70%: หลักการพื้นฐานของวิทยาการคอมพิวเตอร์

  • Algorithms
  • Data Structures
  • System Design
  • Performance Optimization

20%: เปิดรับเทคโนโลยีอย่างแพร่หลาย

  • รูปแบบการเขียน Program หลายแบบ
  • ตระกูลภาษาที่แตกต่างกัน
  • รูปแบบสถาปัตยกรรม

10%: การเจาะลึก Framework และ เทคโนโลยีปัจจุบัน

(Roadmap สำหรับการพัฒนาทักษะ ที่สามารถดำเนินการได้)

  • การเพิ่มพูนความรู้พื้นฐาน
  • เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 หลักการ ในการเขียน Program
  • เข้าใจ Low-level System Interactions
  • เรียนรู้ทฤษฎีการคำนวณ

การกระจายความเสี่ยงทางเทคโนโลยี

  • เรียนรู้ภาษาจากตระกูลต่าง ๆ
  • Functional (Haskell, Scala)
  • Object-Oriented (Java, C++)
  • Scripting (Python, Ruby)
  • Systems Programming (Rust, Go)

การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา

  • เข้าร่วมการแข่งขันเขียน Code
  • มีส่วนร่วมใน Open-source Project
  • สร้าง Project ที่แก้ไขปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง
  • เข้าร่วม Ideathon

การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

  • จัดสรรเวลา 5 -10 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ เพื่อพัฒนาทักษะ
  • อ่านเอกสารงานวิจัย
  • เข้าร่วมการประชุมทางเทคนิค
  • เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้

เหตุใดบริษัทต่าง ๆ จึงต้องการ Engineer ที่มีความสามารถในการปรับตัว

ข้อมูลเชิงลึกจากการวิจัย:

  • Engineer ที่ปรับตัวได้ มีคุณค่ามากกว่า 3 เท่า
  • ผู้แก้ปัญหาที่ไม่ยึดติดกับเทคโนโลยี ได้รับเงินเดือนสูงกว่า 40 – 60%
  • ผู้ที่เรียนรู้ได้เร็ว จะมีความสำคัญมากกว่า ผู้เชี่ยวชาญด้าน Framework

สัญญาณเตือนของการพึ่งพา Framework

การสังเกตว่าคุณติดอยู่ในกับดักหรือไม่?

  • คุณสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยเทคโนโลยีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น
  • Resume ของคุณ ระบุ Framework แทนที่จะเป็นความสำเร็จ
  • คุณมีปัญหาในการอธิบายหลักการพื้นฐาน
  • คุณรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ

กรอบความคิด เพื่อความสำเร็จ

“เป็นนักวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ช่างเทคนิค”

  • เข้าใจเหตุผล ไม่ใช่แค่เพียงวิธีการ
  • ตั้งคำถามเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหาที่มีอยู่
  • ทดลองอย่างต่อเนื่อง

มีความถ่อมตนทางสติปัญญา

  • ยอมรับว่าความรู้ปัจจุบันของคุณมีจำกัด
  • อย่าหยุดที่จะอยากรู้อยากเห็น
  • จงเต็มใจที่จะแยกแยะความเข้าใจที่มีอยู่ของคุณ

อาชีพของคุณ ทางเลือกของคุณ

ความแตกต่างระหว่าง Software Engineer ที่ดีและยอดเยี่ยม ไม่ได้อยู่ที่จำนวน Framework ที่พวกเขารู้จัก แต่เป็นความสามารถในการคิด ปรับตัว และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน

Engineer ที่สามารถปรับตัวได้นั้น สามารถให้คุณค่ามากกว่าอย่างมาก:

  • ส่งผลให้เงินเดือนสูงขึ้น 40 – 60%
  • ได้รับความสำคัญในการจ้างงาน
  • สามารถปรับตัวให้เข้ากับภูมิทัศน์ทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว

รายการการดำเนินการของคุณ:

  • ตรวจสอบทักษะปัจจุบันของคุณ
  • ระบุช่องว่างความรู้
  • สร้างแผนการเรียนรู้ที่ตั้งใจ

ลงทุนในปัจจัยพื้นฐาน

  • ศึกษาหลักการของวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • เรียนรู้รูปแบบการเขียน Program ที่หลากหลาย

สร้าง Project ที่ท้าทาย

  • ไม่เพียงแต่ดู Tutorial เท่านั้น
  • แก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนในโลกแห่งความเป็นจริง
  • นำอัลกอริทึมมาใช้ตั้งแต่เริ่มต้น

โลกของเทคโนโลยีไม่ได้ให้รางวัลแก่ผู้เชี่ยวชาญ แต่ให้รางวัลแก่ผู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ รู้จักปรับตัว และใฝ่รู้ ซึ่งสามารถคิดนอกกรอบแนวโน้มทางเทคโนโลยีในปัจจุบันได้

คุณมี 2 ทางเลือก:

  • ยังคงเป็น Developer ที่พึ่งพา Framework และคอยตามเทรนด์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
  • กลายเป็น Software Engineer ตัวจริงที่สามารถปรับตัว แก้ไขปัญหา และสร้างมูลค่าที่ยั่งยืน

ทางเลือกเป็นของคุณ จงจำไว้ว่า เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง แต่ทักษะพื้นฐานยังคงอยู่

สุดท้ายนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ส่วนตัวของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันไป แต่หลักการสำคัญของความสามารถในการปรับตัวและการเรียนรู้ต่อเนื่องยังคงเป็นเรื่องสำคัญ

และทั้งหมดนี้ก็คือ ภัยเงียบทำลายอาชีพ ที่ Software Developer ทุกคนควรรู้

เมื่อ หางาน IT ให้ ISM Technology Recruitment เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย เพื่อให้คุณได้ “ชีวิตการทำงานในแบบที่คุณต้องการ” เพียงส่ง Resume มาที่นี่

ISM เชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ ได้เปิดทำการมาแล้วกว่า 30 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย

Source: https://medium.com/

บทความที่ใกล้เคียง

th