#1 tech recruiter in thailand

ชะตากรรมของ Software Developer มือใหม่

Junior Developer ซึ่งเป็นมือใหม่ที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงานในยุคนี้ มีแนวโน้มที่จะเจองานหนักและเจอความยากในการได้งานทำมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่ไม่มีประสบการณ์ทำงานมาก่อน เรามาดูกันว่า ชะตากรรมของ Junior Software Developer ว่าพวกเขาต้องเจออะไรกันบ้าง และจะแก้ไขมันอย่างไรดี ซึ่งอันที่จริงบทความนี้ยังใช้ได้กับคนแวดวงไอทีในทุกระดับอีกด้วย

Junior Developer ที่กำลังใช้เวลาไปกับการหางานจากแหล่งต่าง ๆ อยู่ มักจะได้พบกับ Mindset ที่ขัดแย้งของบริษัท คือ มีบางแห่งต้องการจ้าง Developer ระดับ Junior แต่กลับต้องการคนมีประสบการณ์มากกว่า 2 ปีขึ้นไป หลายแห่งก็เน้นรับ Developer ระดับกลางถึง Senior โดยไม่มีการว่าจ้างในระดับ Junior เลย แถมบางแห่งยังต้องการคนมีประสบการณ์ในหลายทักษะ เช่น ประสบการณ์ใน Gatsby.js มากกว่า 4 ปี และประสบการณ์ใน Angular 8 มากกว่า 2 ปี และอาจยังมีอื่นๆ อีกด้วย

คำถามสำคัญคือ อะไรที่ทำให้บริษัทเหล่านั้นถึงไม่จ้าง Developer มือใหม่เลย ซึ่งมันมีสาเหตุจากหลายประการที่ Austin Tindle จะเปิดเผย รวมทั้งจะให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธีที่ Junior Developer จะสามารถพัฒนาตนเองเพื่อเพิ่มโอกาสของพวกเขาในระหว่างการหางานอีกด้วย

ความต้องการงานของ Junior Developers มีมากขึ้น

ขออ้างอิง ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐ พบว่า งาน Software Developer เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจาก 507,000 ตำแหน่งในปี 2006 เป็น 1.2 ล้านตำแหน่งในปี 2016 และตัวเลขนี้ดูน่าจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอีก และเพื่อตอบสนองต่อความต้องการนี้ ทางมหาวิทยาลัย, โครงการ MOOC รวมทั้ง Coding Bootcamp ต่าง ๆ มีการเตรียมงานรองรับสำหรับ Software Engineers ไว้ด้วย อย่างในมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกา มีคนที่สำเร็จการศึกษาเกือบ 50,000 คนต่อปี แต่มีคนที่จบ Bootcamps ประมาณ 15,000 – 30,000 คนต่อปีเท่านั้น ในขณะที่เป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาถึง ความต้องการ Software Developer โดยทั่วไปว่าน่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่ แต่สัดส่วนของ Junior ต่อ Non-Junior Developer ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานนั้น กลับโน้มเอียงไปทางกลุ่มที่มีประสบการณ์น้อยกว่า

สิ่งนี้กำลังสื่อว่า คนระดับ Junior กำลังแข่งขันในตลาดแรงงานที่มีความอิ่มตัวสูง โดยมีการรับสมัครงานสำหรับระดับ Junior เพียงเล็กน้อยแค่ไม่กี่สิบคนเท่านั้น ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? ไม่ใช่ว่าเปิดรับทั้ง Junior และ Senior แบบกระจาย ๆ กันไปหรอกเหรอ?  คำตอบคือ “ไม่“ นี่คือเหตุผลที่ทำให้ Junior หางานยาก

ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ Developer จะผ่านการสัมภาษณ์งาน

โดยทั่วไป Software Developer มักจะเจอด่านหินเมื่อต้องสัมภาษณ์งาน แม้แต่ Developer ที่มีประสบการณ์ทำงานมาแล้วแถมเคยทำ Project ที่ซับซ้อนมาแล้ว ก็ยังไม่ง่ายที่จะผ่านการสัมภาษณ์งานไปได้ บริษัทหลายแห่งเริ่มหันมาใช้กระบวนการสัมภาษณ์งานแบบ ”Code-Quiz” และ การแก้ไขปริศนาเหล่านั้น ก็ถือเป็นประตูบานสำคัญสู่ขั้นตอนการสัมภาษณ์งาน แต่อย่างน้อยมันก็เป็นการสร้างเป้าหมายที่เป็นไปได้สำหรับ Junior ที่กำลังมองหางานแรก ให้ศึกษาปัญหาในลักษณะนี้มาก่อน และอีกนัยหนึ่ง บริษัทเองก็สามารถเลือกผู้สมัครโดยคัดกรองเอาแต่คนที่แก้ไขปัญหาที่ดีที่สุดไป ซึ่งมันอาจดูโหดร้ายต่อ Junior ไปสักหน่อย แต่จะว่าไปแล้ว รูปแบบการสัมภาษณ์โดยใช้ Code-Challenge ก็อาจไม่ได้เป็นตัวชี้วัดที่ดีพอ เพราะสุดท้ายแล้วก็ทราบว่า ผู้สมัครคนนั้นจะสามารถ Develop งานของพวกเขาได้ดีมากแค่ไหนเมื่อต้องทำงานจริง

นอกเหนือจากปัญหาเกี่ยวกับ Code-Challenge แล้ว บริษัทส่วนใหญ่ยังตระหนักถึง ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนา Software ดังนั้น บริษัทจึงเลือกมุ่งเน้นไปที่ผู้สมัครที่มีประสบการณ์มากก่อน และตั้งใจจะรักษาพนักงานที่มีประสิทธิภาพเหล่านั้นตั้งแต่รับเข้ามา อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ถือเป็นการจำกัดช่องทางการมีประสบการณ์และการพัฒนาฝีมือของคนระดับ Junior

การจ้างงานระดับ Junior มีความเสี่ยง

สำหรับบริษัทที่ว่าจ้างระดับ Junior เข้ามา ก็ถือว่ามีความเสี่ยงเช่นกัน เพราะบริษัทต้องให้ Developer ที่มีประสบการณ์ทำงานมา Training ในระยะหนึ่งก่อน โดยเฉลี่ยแล้ว Developer มักใช้เวลาประมาณ 3 – 6 เดือนกว่าจะทำงานทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่สำหรับ Junior ที่ไม่เคยทำงานมาก่อนอาจใช้เวลาเกิน 6 เดือนขึ้นไป นอกจากนี้ Junior Developer ยังมีแนวโน้มที่จะสร้าง Bug ใน Codebase หรือทำนอกเหนือจากรูปแบบ Software Construction ที่ควรจะเป็น อันที่จริงการมีโครงสร้างพื้นฐานการ Test ที่เหมาะสมและการมีคนให้คำปรึกษาที่ดี จะช่วยลดปัญหาข้างต้นลงได้ แต่มีหลายครั้งที่บริษัทไม่มีสิ่งนั้นรองรับ ส่งผลให้ Code ที่มีคุณภาพต่ำเข้าสู่ Production Environment และทำให้เกิด Technical Debt สะสมมากยิ่งขึ้น และเพื่อลดปัญหาดังกล่าว หลายบริษัทจึงเลือกจ้าง Developer ที่มีประสบการณ์ทำงานแล้วมากกว่า Junior

ส่วนปัญหาอื่น ๆ ที่มักเจอคือ Developer หลายคน(รวมถึงระดับ Junior) มักจะไม่ทำงานอยู่ที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นระยะเวลานาน ซึ่งมันก็เกิดจากหลายปัจจัย แต่ปัจจัยหลัก ๆ ที่ควรคำนึงถึงก็คือ Developer อาจถูก Offer เงินเดือนที่สูงขึ้นกว่าเดิม 50% หรือมากกว่านั้นเมื่อพวกเขาย้ายที่ทำงานใหม่ และหาก Developer ไม่ Happy กับงานที่ทำอยู่พวกเขาก็พร้อมจะย้ายงานใหม่โดยไม่ต้องคิดอะไรมาก ด้วยเหตุผลที่ว่า Junior Developer มีแนวโน้มที่จะใช้เวลามากขึ้นกว่าจะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้บริษัทหลายแห่งจึงพยายามลดความเสี่ยงด้วยการจ้าง Developer ที่มีประสบการณ์แล้วมาทำงานเสียเลย

คุณสามารถทำอะไรได้บ้าง

มีหลายวิธีที่ Junior Developer สามารถทำได้เพื่อเพิ่มโอกาสให้ตัวเองได้รับการว่าจ้างจากสภาพการแข่งขันสูงในปัจจุบัน

วิธีหนึ่ง ก็คือ การเรียนรู้และฝึกฝนในด้าน Technical ด้วยตนเอง เพื่อให้แน่ใจว่า คุณจะสามารถอยู่รอดได้ใน Industry ที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง และเป็นการเพิ่มความสนใจให้กับนายจ้างได้ สิ่งนี้จะช่วยให้คุณมี Portfolio ของงานและ Side-Projects เพื่อแสดงถึงจุดแข็งของคุณ การพัฒนาทักษะอย่างต่อเนื่องถือเป็นสิ่งสำคัญ จงอย่าตกหลุมพรางที่ว่า หลังจากได้รับปริญญาหรือใบ Certificate แล้วถือว่า การเรียนรู้ของคนจบลงแล้ว

คุณควร Focus ไปที่พื้นฐาน เพื่อให้แน่ใจว่า ทักษะของคุณมีความยืดหยุ่นและต่อยอดได้ในระยะยาว รวมทั้งจะไม่ได้รับผลกระทบจากแนวโน้มที่เกิดขึ้นของเทคโนโลยี การมีพื้นฐานที่ดีจะช่วยให้คุณสามารถเลือกเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากคุณจะมีความเข้าใจถึง ปัญหาที่กำลังถูกแก้ไขและเข้าใจถึงเครื่องมือที่แก้ปัญหาเหล่านั้นได้ดี

อีกวิธี ที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการได้งานก็คือ การมีประสบการณ์ที่เพียงพอ และมีผลงานติดตัวเป็น Project ที่แสดงถึงความสามารถของคุณ ซึ่งจะทำให้นายจ้างยอมรับว่าคุณมีทักษะที่ดีพอและมีคุณค่ากับบริษัท สำหรับวิธีที่จะเพิ่มประสบการณ์ก็เช่น การรับงาน Freelance เพราะนอกจากจะทำให้คุณมีประสบการณ์ทำงานในโลกของการทำงานจริงแล้ว ยังช่วยพัฒนาทักษะเกี่ยวกับ “คน” และทักษะการสื่อสารอีกด้วย

หวังว่าคำแนะนำนี้จะเป็นประโยชร์กับ Developer มือใหม่ หรือแม้แต่ Developer ที่มีประสบการณ์แล้วก็ตามให้มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ อย่าหยุดนิ่ง เพราะคุณต้องทำงานกับเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ

ISM Technology Recruitment Ltd. (#1 Tech Recruiter in Thailand) เราเชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ เปิดทำการกว่า 28 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย หากคุณเป็นคน IT ที่อยากทำงานท้าทายและร่วมงานกับองค์กรชั้นนำ สามารถฝากประวัติการทำงาน (Resume) ของคุณไว้กับ ISM ได้ที่ https://www.ismtech.net/submit-your-resume แล้วคุณจะพบว่าอนาคตและโอกาสก้าวหน้ากำลังรอคุณอยู่

Source: https://medium.com/

th