#1 tech recruiter in thailand

Tech Stack ที่จำเป็น สำหรับ Micro SaaS Projects

Tech Stack That I Use For Micro Saas 99 Of The Time

ปัจจุบันมีเทคโนโลยีมากมายให้เลือกใช้ เรามักจะเห็น JS framework ใหม่ ๆ ทุกเดือน และบางครั้ง หากคุณไม่เลือก Technical Stack ที่เหมาะสมตั้งแต่เริ่มต้น อาจจะปรับขนาดได้ยากในภายหลัง ดังนั้น บทความนี้จึงได้รวบรวม Tech Stack ที่จำเป็น สำหรับ Micro SaaS Projects มาให้คุณแล้ว โดยคุณ Shivanshu Gupta

ซึ่งในบทความนี้จะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อย ๆ ดังนี้ Frontend Development, Backend Development, Database, Payments, Cloud และ Security เพื่อให้เข้าใจสิ่งต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น เรามาดูกันทีละหัวข้อได้เลย!

Frontend Development

สำหรับ Frontend Development ส่วนใหญ่ คุณ Shivanshu ชอบใช้ Vite กับ React JS มีแค่บาง Project ที่สร้างโดยใช้ Next JS แต่ Project ที่คุณ Shivanshu สร้างส่วนมากจะต้องการ Native JS Libraries เช่น Window และ Location เป็นต้น

เพื่อความเรียบง่ายและมีประสิทธิภาพ คุณ Shivanshu เลือกใช้ Templates ที่สร้างไว้แล้วจาก MUI (Material-UI)  ซึ่งช่วยประหยัดเวลาได้มาก เนื่องจากเขาไม่เก่งในด้าน Frontend มากนัก และต้องการสร้าง SaaS แบบ MVP (Minimum Viable Product) Version เพื่อตรวจสอบและประเมินไอเดียของเขา เมื่อคุณ Shivanshu รู้สึกว่าทุกอย่างราบรื่นและ SaaS มีศักยภาพแล้ว เขาก็จะสามารถพิจารณาพัฒนารูปแบบของ SaaS เพิ่มเติมได้

MUI (Material-UI)

https://mui.com/store/

ส่วนใหญ่แล้วในระหว่าง Development คุณ Shivanshu จะปิดการตรวจสอบ ESlint ซึ่งสำหรับคุณสามารถเปิดการตรวจสอบต่อไปได้ ถ้าคุณต้องการ ซึ่งจะช่วยให้คุณเขียน Code ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับ SaaS ของคุณได้

Backend Development

สำหรับ Backend Development หากคุณ Shivanshu กำลังสร้าง SaaS Project ที่ซับซ้อนพร้อม Feature มากมาย เขาจะใช้ Nest JS ซึ่งเป็น Express JS เวอร์ชันขั้นสูง

Nestjs

https://nestjs.com/

Framework นี้มีความน่าเชื่อถือและปรับขนาดได้มากกว่าการใช้ Express JS แต่ถ้า คุณ Shivanshu กำลังพัฒนา SaaS ที่มี Feature น้อยกว่าหรือ Micro SaaS คุณสามารถลองใช้ Framework Node JS – Express JS นี้ได้

คุณ Shivanshu ชอบเขียน Code ในภาษา JS สำหรับ Micro SaaS และสำหรับ Project ที่มี Feature มากมายและมีขนาดใหญ่กว่า Micro SaaS เขาจะใช้ TypeScript มากกว่า

บางครั้งเพื่อประหยัดเวลาและสร้าง CRUD (Create, Read, Update และ Delete) Operations ได้เร็วขึ้น คุณ Shivanshu จะเลือกใช้ CMS แบบ Headless อย่าง Strapi

https://strapi.io/

นอกจากนี้ยังมีการ Integrate กับ Third Parties อื่น ๆ เช่น Stripe และ Mailchimp ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลาได้อีกด้วย

Databases

สำหรับ Database คุณ Shivanshu ชอบใช้ MongoDB สำหรับ Project ส่วนใหญ่ของเขา แต่เมื่อต้องติดตามและวิเคราะห์ Activity ของ Users เขาชอบใช้ PostgreSQL มากกว่า

คุณ Shivanshu ใช้ Redis สำหรับ Caching เมื่อจำเป็น และดึง Database ทั้งหมดมาจากผู้ให้บริการ เช่น PlanetScale, Redis.com และ MongoDB.com หากต้องการบริการจัดคิวที่คล้ายกับ Kafka แนะนำให้ใช้ Upstash เนื่องจากจัดการได้ง่ายกว่า

Payments

สำหรับ Subscriptions และ Payments คุณ Shivanshu มักเลือกใช้ Stripe ในการจัดการเสมอ นอกจากนี้ หากคุณต้องการเอกสารภาษีและการยื่นภาษีที่ซับซ้อนกว่านี้ คุณสามารถลองใช้ Lemon Squeezy ได้อีกด้วย เขาเคยใช้โปรแกรมนี้ใน Project ล่าสุดและพบว่ามีประโยชน์มาก

Hosting and Deployment

คุณ Shivanshu ไม่ใช่ DevOps Engineer ที่เชี่ยวชาญ เขาจึงชอบใช้ Platforms เช่น Heroku, Render และ Firebase สำหรับการ Deploy เป็นหลัก นอกจากนี้สำหรับ Project ใหญ่ ๆ ของลูกค้า คุณ Shivanshu มักเลือกใช้ Azure และ GCP

แต่หาก SaaS ของคุณอยู่ในรูปแบบ MVP และต้องการ Architecture ที่ซับซ้อนน้อยกว่า คุณสามารถลองใช้

  • Vercel หรือ Netfily สำหรับ Frontend Deployment
  • Heroku หรือ Render สำหรับ APIs/Backend Deployment
  • Wasabi สำหรับ Cloud Storage
  • Firebase Cloud Function/Vercel Edge Functions สำหรับ Serverless

ซึ่งคุณ Shivanshu แนะนำให้ใช้ Digital Oceans หากคุณต้องการเก็บทุกสิ่งทุกอย่างไว้ในที่เดียวและต้องการความซับซ้อนที่น้อยกว่า Azure หรือ AWS

สำหรับ AI Models และ Deployment คุณ Shivanshu ชอบใช้ Runpod  สำหรับ Deployment

Runpod

https://www.runpod.io/

นอกจากนี้ หากคุณต้องการใช้ Open AI APIs คุณยังสามารถใช้จาก Azure ได้ด้วยเครดิต หรือหากต้องการใช้ Rebuild Models แบบอื่น แนะนำให้ใช้ Togerther.ai

Security

สำหรับการรักษาความปลอดภัยของ SaaS ก่อนอื่นคุณต้องแน่ใจว่า Database นั้นไม่ได้เป็นแบบ Public ซึ่งคุณ Shivanshu มักใช้ Cloudflare เพื่อความปลอดภัย เพราะมันช่วยปกป้องการโจมตีและการบุกรุก SaaS ของเขาได้มาก นอกจากนี้ คุณ Shivanshu ยังใช้ NewRelic และ Site 24×7 สำหรับ Logs และการแจ้งเตือน ในการเข้าสู่ระบบและการตรวจสอบ

 

และทั้งหมดนี้ก็คือ Tech Stack ที่จำเป็น สำหรับ Micro SaaS Projects หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คุณมีแนวทางที่ดี เกี่ยวกับ Technical Stack ซึ่งคุณสามารถลองปฏิบัติตามได้ แต่ก่อนจะตัดสินใจใด ๆ ให้แน่ใจว่าคุณได้ศึกษาข้อมูล Technical Requirements สำหรับ SaaS ของคุณเป็นอย่างดีแล้ว

เมื่อ หางาน IT ให้ ISM Technology Recruitment เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย เพื่อให้คุณได้ “ชีวิตการทำงานในแบบที่คุณต้องการ” เพียงส่ง Resume มาที่นี่

ISM เชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ ได้เปิดทำการมาแล้วกว่า 30 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย

Source: https://medium.com/@shivanshudev/

บทความที่ใกล้เคียง

ส่อง เงินเดือนสายงานไอที ปี 2567

ISM Technology Recruitment เปิดเผยรายงานอัตราเงินเดือนในสายงานไอที ในบทความนี้เรามาเจาะลึกค่าจ้างของคนไอทีกัน กับ ส่อง เงินเดือนสายงานไอที ปี 2567

แนวโน้มตลาดแรงงานสายงานไอทีในประเทศไทย

หากคุณเป็นคนไอทีและไม่อยากพลาดหัวข้อสำคัญที่จะช่วยให้คุณก้าวหน้าในอาชีพการทำงาน ในบทความนี้เรามีคำตอบกับ แนวโน้มตลาดแรงงานสายงานไอทีในประเทศไทย

th