แม้บทความนี้จะไม่เกี่ยวกับเรื่องไอทีโดยตรง แต่เชื่อว่าการคิดมาก ล้วนเคยเกิดกับคนทำงานทุกคน แต่ละวัน คุณใช้ความคิดไปกี่ชั่วโมง? แน่นอนว่า คุณอาจไม่เคยนั่งนับและนึกถึงเรื่องนี้เลย ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่า อันที่จริงพวกเรา “คิด” อยู่ตลอดเวลา เพียงแต่คุณไม่เคยนับว่า คุณใช้เวลาในการคิดนานมากแค่ไหน ดังนั้นบทความนี้จะมาบอกถึง วิธี “หยุด” จากการคิดมาก
การ “คิดมาก” ถือเป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และมันก็อาจนำคุณไปสู่ อาการนอนหลับไม่สนิทหรือถึงขั้นนอนไม่หลับ, อาการ “Analysis Paralysis (วิเคราะห์มากจนเป็นอัมพาต = คิดมากเกิน จนไม่สามารถเดินหน้าต่อได้)” อีกทั้งยังคุกคามสุขภาพจิตของตัวคุณเอง
เมื่อเรากินมากเกินไป เราก็สามารถพูดได้ว่า “ฉันกินมากเกินไป ฉันต้องกินให้น้อยลง” เมื่อเราทำงานมากเกินไป เราก็สามารถพูดได้ว่า “ฉันรู้สึกเหนื่อยล้ามากแล้ว ฉันต้องหยุดทำงาน” แต่เมื่อเราคิดมากเกินไป เรามักไม่ค่อยพูดว่า “นี่ฉันคิดมากเกินไปแล้ว”
ปัญหาคือ คนส่วนใหญ่มักไม่คิดว่า “การคิดมาก” ถือเป็นปัญหาอย่างหนึ่ง เมื่อเกิดปัญหาเรื่องคิดมาก เรามักจะคิดว่า ปัญหานั้นเกิดขึ้นจากความคิดในเชิงลบ เรามักจะทึกทักเอาเองว่า ความคิดในเชิงบวกนั้นเป็นเรื่องดี แต่มันก็ไม่ใช่ทั้งหมดหรือในทุกกรณี
ส่วนใหญ่เรามักจะได้ยินคำแนะนำว่า ให้ลดความคิดในด้านลบ แล้วเพิ่มความคิดทางด้านบวกให้มาก ๆ ถ้ามองแบบผิวเผิน คำแนะนำนี้ก็เป็นสิ่งที่ดี แต่ความจริงก็คือ เมื่อคุณใช้สมองมากเกินไปไม่ว่าจะในแง่บวกหรือลบ มันก็อาจอุดตันเหมือนท่อระบายน้ำได้เช่นกัน ผลลัพธ์ก็คือ สมองคุณจะล้ามาก ซึ่งนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดได้
คุณไม่ได้เป็นในสิ่งที่คุณคิด
การคิด เป็นสิ่งที่สามารถควบคุมได้ยาก เพราะมันเชื่อมโยงกับตัวตนหลักของเรา คงไม่มีใครพูดได้ดีไปกว่า Marcus Aurelius อีกแล้ว คือ “ชีวิตของเราเป็นไปตามสิ่งที่เราคิด” สิ่งที่เขาพูด หมายถึง ชีวิตของเรา ย่อมมีคุณภาพมากน้อยตามความคิดของเรา อย่างไรก็ตามพวกเราส่วนใหญ่มักทึกทักเอาเองว่า ชีวิตเราเป็นไปตามความคิดของเรา
คุณอาจจะบอกว่า “มันช่วยไม่ได้ที่ฉันจะคิดแบบนี้ เพราะนั่นคือตัวตนฉัน” แต่ที่จริงมันไม่ใช่ เพราะคุณสามารถตัดสินใจได้ว่าจะเพิกเฉยต่อความคิดใดบ้าง ข้อความที่น่าสนใจในหนังสือ The Power Of Now ของ Eckhart Tolle คือ “จุดเริ่มต้นของอิสรภาพ คือ การตระหนักว่าคุณไม่ได้เป็นผู้ครอบครองสิ่งใดเลย — the thinker”
วิธีเดียวที่จะหยุดการคิดมากอยู่ตลอดเวลา ก็คือ การหยุดติดตามความคิดทั้งหมดของคุณ แต่ตัดสินใจเลือกที่จะอยู่กับช่วงเวลาปัจจุบัน
แล้วเราจะอยู่กับช่วงเวลาปัจจุบันได้อย่างไร?
การคิด ถือเป็นเครื่องมือตัวหนึ่ง แทนที่จะใช้เครื่องมือนั้นตลอดเวลาในช่วง 16 หรือ 17 ชั่วโมงที่คุณกำลังตื่นอยู่ ให้คุณดึงมันออกมาใช้งานเฉพาะเมื่อคุณต้องการเท่านั้น
แต่คำถามคือ จะทำอย่างไรล่ะ? และนี่ก็คือ กระบวนการ 4 ขั้นตอนเพื่อหยุด “การคิดมาก” :
- มีสติ/รู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา: ให้ตระหนักว่า การคิดมากเกินไป จะทำให้คุณยิ่งห่างจากเป้าหมาย ไม่ใช่เข้าไปสู่เป้าหมาย
- เริ่มสังเกตความคิดของตัวคุณเอง: ทุกครั้งที่คุณเริ่มคิด คุณไม่จำเป็นไม่ต้องทำตามสิ่งที่คิดเสมอไป แต่ให้สังเกตว่าคุณกำลังคิดอะไรบางอย่างอยู่ และเมื่อคุณทำเช่นนั้นได้ สมองของคุณจะไม่ล่องลอยไปกับความคิด
- จำกัดเวลาในการคิดของคุณ: ตัวอย่างเช่นเมื่อจดบันทึกหรือกำหนดลำดับความสำคัญว่าจะทำอะไรในแต่ละวัน ให้คุณลองนั่งลงและคิดถึงมันอย่างจริงจัง ให้เวลากับตัวเอง (สมมติว่าสัก 15 นาที) โดยในช่วงเวลาเหล่านั้น คุณจะสามารถ Focus ที่ความคิดของคุณได้เป็นอย่างดี สิ่งที่เราพยายามจะหยุด ก็คือ ความคิดที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
- สนุกกับชีวิตของคุณ: ใช้ชีวิตอย่างมีความสุขและสนุกกับมัน ไม่ว่าคุณจะต้องการประสบความสำเร็จในอนาคตมากแค่ไหนและไม่ว่าคุณจะต้องทุกข์ใจมากน้อยเพียงใดกับอดีตที่ผ่านมา คุณควรขอบคุณที่วันนี้คุณยังมีชีวิตและยังหายใจอยู่
หากไม่อยากคิดมากจนเกินไป ให้คุณอยู่กับปัจจุบัน คิดถึงเรื่องที่อยู่กับปัจจุบัน แต่ก็ไม่ใช่ว่า ไม่คิดอะไรเสียเลย หรือไม่วางแผนอะไรเอาเสียเลย แบบนั้นจะเกิดผลเสียมากกว่า อะไรที่ผ่านไปแล้วก็ให้มันผ่านไป อะไรที่ยังมาไม่ถึงก็อย่าไปกังวลกับมันมากจนทำให้คุณเครียดหรือทุกข์ใจ ดังนั้นลองใช้วิธีเหล่านี้เพื่อแก้ไขการคิดมากดู เพื่อที่คุณจะได้มีความสุขกับการใช้ชีวิตมากขึ้น
ISM Technology Recruitment Ltd. (#1 Tech Recruiter in Thailand) เราเชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ เปิดทำการกว่า 28 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย หากคุณเป็นคน IT ที่อยากทำงานท้าทายและร่วมงานกับองค์กรชั้นนำ สามารถฝากประวัติการทำงาน (Resume) ของคุณไว้กับ ISM ได้ที่ https://www.ismtech.net/submit-your-resume แล้วคุณจะพบว่าอนาคตและโอกาสก้าวหน้ากำลังรอคุณอยู่
Source: https://forge.medium.com/