#1 tech recruiter in thailand

ภัยเงียบทำลายอาชีพ ที่ Software Developer ทุกคนควรรู้

See the original English version of this article here

20.03.2025 The Silent Career Killer Most Software Developers Ignore

Software Engineer ทุกคนต้องเผชิญกับความท้าทายที่อันตรายยิ่งกว่า Bug ในการเขียน Code หรือระบบล่ม นับเป็นภัยคุกคามที่มองไม่เห็น ซึ่งจะค่อย ๆ กัดกร่อนศักยภาพในอาชีพการทำงาน จำกัดการเติบโตในอาชีพการงาน และเปลี่ยน Developer ที่มีความสามารถพิเศษให้กลายเป็นเพียงคนงานด้านเทคโนโลยีที่ไร้ค่า มารู้จักภัยเงียบนี้กันกับบทความ ภัยเงียบทำลายอาชีพ ที่ Software Developer ทุกคนควรรู้

โดยสามารถเรียกสิ่งนี้ว่า “Framework Dependency Syndrome” ซึ่งเป็นภาวะที่ทำลายอาชีพการทำงาน โดยทำให้ Engineer ที่มีความสามารถกลายมาเป็นแค่ช่างเทคนิคเขียน Code แทนที่จะเป็นผู้แก้ไขปัญหาอย่างแท้จริง

ความเชื่อผิด ๆ: ความเชี่ยวชาญ = โอกาสในการจ้างงาน

Developer ส่วนใหญ่มักเชื่อว่าการเชี่ยวชาญ Framework หรือเทคโนโลยีเฉพาะนั้น จะสามารถรับประกันความมั่นคงของงานได้ ซึ่งความจริงแล้วไม่เป็นอย่างนั้นเลย ขอแบ่งปันความจริงอันน่าตกใจ: อันตรายที่แท้จริง

เมื่อคุณเริ่มพึ่งพา Framework เพียงอันเดียวมากเกินไป คุณก็กำลังสร้างอาชีพของคุณบนทางตัน เนื่องจากเทคโนโลยีพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ในปี 2023 วงจรชีวิตโดยเฉลี่ยของ Framework ยอดนิยม อย่าง JavaScript อยู่ที่ประมาณ 18 – 24 เดือน สิ่งที่ดูเหมือนล้ำสมัยในวันนี้ อาจกลายเป็น Code ที่ล้าสมัยในวันพรุ่งนี้ React, Angular หรือ Vue เป็นเพียงเครื่องมือ ไม่ใช่คำจำกัดความของอาชีพ

ผลกระทบต่อโลกแห่งความเป็นจริง:

  • 62% ของ Developer ที่เชี่ยวชาญเฉพาะใน Framework เดียวประสบกับปัญหาการหยุดนิ่งในอาชีพ
  • บริษัทต่าง ๆ กำลังมองหา Engineer ที่มีความสามารถในการปรับตัวมากขึ้น ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้าน Framework
  • ระยะเวลาการทำงานโดยเฉลี่ยของ Developer ที่พึ่งพา Framework เฉพาะ มักจะต้องฝึกอบรมใหม่หรือเพิ่มทักษะในทุก ๆ 5 – 2 ปี

กับดักทางจิตวิทยาของการเสพติด Framework

ภาพลวงตาของ Comfort Zone ลองนึกภาพว่าคุณเป็น React Developer ที่สามารถสร้างแอปพลิเคชันที่ซับซ้อนได้แม้กำลังหลับตา คุณรู้จักทุกจุดที่สำคัญและเทคนิคการเพิ่มประสิทธิภาพทุกประการ คุณรู้สึกว่าตัวเองเชียวชาญเหนือใคร แต่การรับรู้ถึงความพ่ายแพ้นี้ คือจุดอ่อนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของคุณ

กลไกทางจิตวิทยาในการทำงาน:

  • อคติในการยืนยัน: คุณแสวงหาข้อมูลที่ยืนยันทักษะที่มีอยู่ของคุณ
  • Dunning-Kruger Effect: ความรู้ที่จำกัดสร้างภาพลวงตาของความเชี่ยวชาญ
  • Technological Stockholm Syndrome: คุณมีความผูกพันทางอารมณ์กับเทคโนโลยี ที่จำกัดการเติบโตของคุณ

*Dunning-Kruger Effect เป็นความรู้สึกภายในจิตใจ ที่คิดอยู่เสมอว่า “ตัวเองเก่งและมีความสามารถมาก” ทั้ง ๆ ที่มันอาจจะยังไม่เป็นเช่นนั้น ซึ่งตรงกันข้ามกับ คำว่า “Impostor Syndrome” หมายถึงคนเก่ง ที่ชอบคิดว่าตัวเองไม่เก่ง

แก่นแท้ของ Software Engineering

Software Engineering ที่แท้จริงไม่ได้เกี่ยวกับการรู้จัก Framework แต่เกี่ยวกับ:

การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking)

  • การแบ่งย่อยปัญหาที่ซับซ้อน
  • การออกแบบ Solution ที่มีประสิทธิภาพและปรับขนาดได้
  • การทำความเข้าใจประสิทธิภาพ ของอัลกอริทึม

Systems Perspective (มุมมองเชิงระบบ)

  • การมองเห็นและเข้าใจว่า Component ต่าง ๆ ส่งผลต่อภาพรวมอย่างไร
  • การทำความเข้าใจว่าเทคโนโลยีต่าง ๆ โต้ตอบกันอย่างไร
  • การคิดออกแบบสถาปัตยกรรม

Continuous Learning Mindset (แนวคิดการเรียนรู้ต่อเนื่อง)

  • การเรียนรู้ทักษะอย่างรวดเร็ว
  • การแก้ปัญหา โดยไม่คำนึงถึงเทคโนโลยี
  • ความอยากรู้ทางปัญญา

เรื่องราวการเปลี่ยนแปลงของ Crafting-Code

ในช่วงเริ่มต้นอาชีพการทำงาน เขาเป็น “ผู้เชี่ยวชาญ ด้าน React” ซึ่งเขาสามารถสร้าง Application ที่น่าทึ่งได้เร็วกว่าใคร ๆ

แต่ในระหว่างการปรับโครงสร้างใหม่ของบริษัทใหญ่ เขาได้ค้นพบความจริงอันโหดร้าย: ทักษะเฉพาะทางของเขากลับกลายเป็นภาระของบริษัท

จุดเปลี่ยนของชีวิต:

  • ไม่มีงานในช่วงที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง
  • ตระหนักได้ว่าทักษะถูกจำกัด
  • มุ่งมั่นที่จะเป็น Software Engineer ตัวจริง ไม่ใช่แค่ช่างเทคนิคด้าน Framework

กลยุทธ์เชิงปฏิบัติเพื่อความยืดหยุ่นในการทำงาน: กฎการเรียนรู้ 70–20–10

70%: หลักการพื้นฐานของวิทยาการคอมพิวเตอร์

  • Algorithms
  • Data Structures
  • System Design
  • Performance Optimization

20%: เปิดรับเทคโนโลยีอย่างแพร่หลาย

  • รูปแบบการเขียน Program หลายแบบ
  • ตระกูลภาษาที่แตกต่างกัน
  • รูปแบบสถาปัตยกรรม

10%: การเจาะลึก Framework และ เทคโนโลยีปัจจุบัน

(Roadmap สำหรับการพัฒนาทักษะ ที่สามารถดำเนินการได้)

  • การเพิ่มพูนความรู้พื้นฐาน
  • เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 หลักการ ในการเขียน Program
  • เข้าใจ Low-level System Interactions
  • เรียนรู้ทฤษฎีการคำนวณ

การกระจายความเสี่ยงทางเทคโนโลยี

  • เรียนรู้ภาษาจากตระกูลต่าง ๆ
  • Functional (Haskell, Scala)
  • Object-Oriented (Java, C++)
  • Scripting (Python, Ruby)
  • Systems Programming (Rust, Go)

การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหา

  • เข้าร่วมการแข่งขันเขียน Code
  • มีส่วนร่วมใน Open-source Project
  • สร้าง Project ที่แก้ไขปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง
  • เข้าร่วม Ideathon

การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

  • จัดสรรเวลา 5 -10 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ เพื่อพัฒนาทักษะ
  • อ่านเอกสารงานวิจัย
  • เข้าร่วมการประชุมทางเทคนิค
  • เข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้

เหตุใดบริษัทต่าง ๆ จึงต้องการ Engineer ที่มีความสามารถในการปรับตัว

ข้อมูลเชิงลึกจากการวิจัย:

  • Engineer ที่ปรับตัวได้ มีคุณค่ามากกว่า 3 เท่า
  • ผู้แก้ปัญหาที่ไม่ยึดติดกับเทคโนโลยี ได้รับเงินเดือนสูงกว่า 40 – 60%
  • ผู้ที่เรียนรู้ได้เร็ว จะมีความสำคัญมากกว่า ผู้เชี่ยวชาญด้าน Framework

สัญญาณเตือนของการพึ่งพา Framework

การสังเกตว่าคุณติดอยู่ในกับดักหรือไม่?

  • คุณสามารถแก้ปัญหาได้ด้วยเทคโนโลยีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น
  • Resume ของคุณ ระบุ Framework แทนที่จะเป็นความสำเร็จ
  • คุณมีปัญหาในการอธิบายหลักการพื้นฐาน
  • คุณรู้สึกวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ

กรอบความคิด เพื่อความสำเร็จ

“เป็นนักวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ช่างเทคนิค”

  • เข้าใจเหตุผล ไม่ใช่แค่เพียงวิธีการ
  • ตั้งคำถามเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหาที่มีอยู่
  • ทดลองอย่างต่อเนื่อง

มีความถ่อมตนทางสติปัญญา

  • ยอมรับว่าความรู้ปัจจุบันของคุณมีจำกัด
  • อย่าหยุดที่จะอยากรู้อยากเห็น
  • จงเต็มใจที่จะแยกแยะความเข้าใจที่มีอยู่ของคุณ

อาชีพของคุณ ทางเลือกของคุณ

ความแตกต่างระหว่าง Software Engineer ที่ดีและยอดเยี่ยม ไม่ได้อยู่ที่จำนวน Framework ที่พวกเขารู้จัก แต่เป็นความสามารถในการคิด ปรับตัว และแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน

Engineer ที่สามารถปรับตัวได้นั้น สามารถให้คุณค่ามากกว่าอย่างมาก:

  • ส่งผลให้เงินเดือนสูงขึ้น 40 – 60%
  • ได้รับความสำคัญในการจ้างงาน
  • สามารถปรับตัวให้เข้ากับภูมิทัศน์ทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว

รายการการดำเนินการของคุณ:

  • ตรวจสอบทักษะปัจจุบันของคุณ
  • ระบุช่องว่างความรู้
  • สร้างแผนการเรียนรู้ที่ตั้งใจ

ลงทุนในปัจจัยพื้นฐาน

  • ศึกษาหลักการของวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • เรียนรู้รูปแบบการเขียน Program ที่หลากหลาย

สร้าง Project ที่ท้าทาย

  • ไม่เพียงแต่ดู Tutorial เท่านั้น
  • แก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนในโลกแห่งความเป็นจริง
  • นำอัลกอริทึมมาใช้ตั้งแต่เริ่มต้น

โลกของเทคโนโลยีไม่ได้ให้รางวัลแก่ผู้เชี่ยวชาญ แต่ให้รางวัลแก่ผู้ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ รู้จักปรับตัว และใฝ่รู้ ซึ่งสามารถคิดนอกกรอบแนวโน้มทางเทคโนโลยีในปัจจุบันได้

คุณมี 2 ทางเลือก:

  • ยังคงเป็น Developer ที่พึ่งพา Framework และคอยตามเทรนด์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ
  • กลายเป็น Software Engineer ตัวจริงที่สามารถปรับตัว แก้ไขปัญหา และสร้างมูลค่าที่ยั่งยืน

ทางเลือกเป็นของคุณ จงจำไว้ว่า เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลง แต่ทักษะพื้นฐานยังคงอยู่

สุดท้ายนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ส่วนตัวของแต่ละบุคคลอาจแตกต่างกันไป แต่หลักการสำคัญของความสามารถในการปรับตัวและการเรียนรู้ต่อเนื่องยังคงเป็นเรื่องสำคัญ

และทั้งหมดนี้ก็คือ ภัยเงียบทำลายอาชีพ ที่ Software Developer ทุกคนควรรู้

เมื่อ หางาน IT ให้ ISM Technology Recruitment เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย เพื่อให้คุณได้ “ชีวิตการทำงานในแบบที่คุณต้องการ” เพียงส่ง Resume มาที่นี่

ISM เชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ ได้เปิดทำการมาแล้วกว่า 30 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย

Source: https://medium.com/

Related Articles

en