#1 tech recruiter in thailand

9 YouTube Channels ที่ Developer ต้องกด Subscribe

See the original English version of this article here

ปัจจุบัน YouTube เป็นที่นิยมมีจำนวนผู้ชมเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทั่วโลก และหนึ่งในประเภทช่องที่ได้รับความนิยมมากที่สุดก็คือ ช่องเกี่ยวกับ Programming หรือ Technology นั่นเป็นเพราะ  Programming เป็นหนึ่งในไม่กี่งานที่คนทุกเพศทุกวัย สามารถเรียนรู้ได้จากทุกสถานที่ มีผู้คนมากมายเปลี่ยนจากอาชีพต่าง ๆ อย่าง แพทย์ ทนายความ อดีตนายทหาร ฯลฯ มาเป็น Software Developers ที่ประสบความสำเร็จ บทความนี้จึงมัดรวม 9 YouTube Channels ที่ Developer ต้องกด Subscribe มาฝากกัน (ซึ่งผู้เขียนบทความนี้คือคุณ Vivek Naskar)

1. Kalle Hallden

Channel Link: https://www.youtube.com/c/KalleHallden
Subscribers: 627K

คุณ Kalle Hallden เป็น Software Developer ที่รักในการเสาะหาเทคโนโลยีต่าง ๆ และทำวิดีโอแบบ Proof-of-Concept เขาสร้างวิดีโอมากมายโดยใช้ Python Automation และวิดีโอทั้งหมดของเขามีคนกดถูกใจและแชร์ผ่านหลากหลาย Platform ปัจจุบันเขาทำงานแบบ Work From Home ในสวีเดน ถ้าคุณเคยดูหรือลองคลิกไปดูวิดีโอของเขา คุณจะเห็นได้ทันทีว่า วิดีโอของเขามีคุณภาพสูงมาก ซึ่งทำได้น่าสนใจไม่แพ้ Youtubers เบอร์ต้น ๆ เลยทีเดียว

สิ่งที่ดีที่สุดเกี่ยวกับ คุณ Kalle ก็คือ เขาเป็น Developer ที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง ซึ่งไม่เพียงเขาจะทำ Project ที่น่าสนใจเป็นจำนวนมากเท่านั้น แต่ยังอธิบายวิธีการและสิ่งที่เขาทำว่าจะทำอย่างไรเพื่อให้สำเร็จอีกด้วย

2. Joma Tech

Channel Link: https://www.youtube.com/c/JomaOppa
Subscribers: 1.61M

คุณ Joma เป็น Developer ที่เก่งมากคนหนึ่ง และเป็นที่รู้จักจากวิดีโอที่ให้ทั้งความบันเทิงและให้ความรู้เกี่ยวกับ Technology, Software Engineering และ Data Science ช่องของเขายังมีซีรีส์ 7 ตอนที่ยอดเยี่ยม ชื่อว่า Startup Series ที่เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับ Startup ด้วยเนื้อหาที่ชวนให้ตลกขำขัน

ช่องนี้ยังแชร์ประสบการณ์การสัมภาษณ์ของ คุณ Joma กับบริษัทต่าง ๆ รวมถึงบริษัท FAANG (FAANG ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีอเมริกัน ที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด 5 แห่ง ได้แก่ Facebook, Amazon, Apple, Netflix และ Google) และตัวย่อยอดนิยมอีกตัวหนึ่งคือ FAAMG โดยที่ M ย่อมาจาก Microsoft โดย Joma เป็นหนึ่งในผู้ใช้ YouTube คนแรก ๆ ที่ทำให้คำย่อเหล่านี้เป็นที่นิยม

3. freeCodeCamp

Channel Link: https://www.youtube.com/c/Freecodecamp
Subscribers: 5.1M

คุณ Quincy Larson เป็นผู้ก่อตั้ง freeCodeCamp ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่มุ่งเน้นการทำให้ Web Development เข้าถึงได้สำหรับทุกคนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่ง NGO นี้ประกอบด้วย Interactive Learning Web Platform, Online Community Forum, Chat Rooms, Online Publications, Local Organizations และ YouTube Channel

หากคุณเป็นมือใหม่ คุณอาจเคยได้ยินเกี่ยวกับช่อง YouTube ที่น่าทึ่งของพวกเขาแล้ว ซึ่งช่องนี้ไม่มีโฆษณา และส่วนที่ดีที่สุดคือ เป็น Open-Source ดังนั้น Developers สามารถมีส่วนร่วมในเพลย์ลิสต์ของช่องได้ พวกเขามี Full-length Courses เกี่ยวกับเทคโนโลยีและ Programming Languages ต่าง ๆ เช่น JavaScript, Java, Python, Full-ethical Hacking, Data Science รวมไปถึง Machine Learning

ซึ่งปัจจุบันมีหลักสูตรเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ บน Platform ที่สามารถเรียนรู้ได้ฟรี และเมื่อใดก็ตามที่มีคนถามเกี่ยวกับหลักสูตร Programming ก็สามารถแนะนำช่องนี้ให้ได้เลยโดยไม่ต้องคิดอะไร

4. edureka!

Channel Link: https://www.youtube.com/c/edurekaIN
Subscribers: 3.17M

edureka! เป็น Instructor-led Platform ซึ่งเป็นช่อง YouTube ที่ได้รับการแนะนำอย่างมากสำหรับอาชีพการทำงานที่ต้องการทักษะเฉพาะด้าน ที่ต้องการเพิ่มทักษะของตัวเองอย่างต่อเนื่อง ช่องนี้มีวิดีโอที่น่าประทับใจ มากกว่า 5,000 รายการ และมี Free Tutorials เกี่ยวกับ DevOps, Artificial Intelligence, Data Science, Digital Marketing, Cloud Computing และ Certification Courses ซึ่งช่องนี้ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้ที่กำลังเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่ หรือ Developers ที่มีประสบการณ์แล้ว

5. thenewboston

Channel Link: https://www.youtube.com/user/thenewboston
Subscribers: 2.6M

ช่องนี้ถือเป็นช่องที่เจ๋งมาก โดยสอนตั้งแต่เริ่มต้นเลยทีเดียว ปัจจุบันการเรียนรู้ Programming กลายเป็นที่นิยมและสามารถเรียนได้ฟรีบน YouTube เนื่องจากมีคนมากมายตัดสินใจ Upload วิดีโอเป็นประจำเพื่อให้ผู้คนทั่วโลกสามารถเรียนรู้การเขียน Code ได้ และหนึ่งในนั้น คือ Bucky Roberts ซึ่งคุณ Bucky เริ่มทำช่องตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ก่อนช่องยอดนิยมด้านเทคโนโลยี อย่าง Marques Brownlee (MKBHD) จะเกิดซะอีก

การเรียนรู้ Programming จากหนังสือไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับทุกคน แต่วิดีโอที่ คุณ Bucky สร้างขึ้นนั้น ได้รับความนิยมอย่างมากจนเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่เริ่มสร้างช่อง Programming เป็นของตนเอง โดยช่องของ คุณ Bucky มี Tutorials สอนเกี่ยวกับ Java, Python, C++, Blockchain, Angular, React, Docker, Django รวมถึง Languages และ Frameworks ที่เป็นที่นิยมอื่น ๆ โดยช่องนี้มีวิดีโอมากกว่า 4,000 รายการ

คุณ Bucky เพิ่งสร้าง Open-Source thenewboston Blockchain และมีการอัปโหลดวิดีโออย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หากคุณต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับ Blockchain Technology สามารถไปดูที่ช่องนี้ได้เลย

6. TechWorld with Nana

Channel Link: https://www.youtube.com/c/TechWorldwithNana
Subscribers: 444K

น่าจะเป็นช่องใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมาได้ไม่นาน โดยคุณ Nana Janashia เริ่มสร้างช่องนี้ในปี 2562 และมีผู้ติดตาม 345K ภายใน 2 ปี เนื่องจาก คุณ Nana ได้ Upload Tutorials ที่สอนเกี่ยวกับ DevOps Technologies ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมให้แบบฟรี ๆ จนถึงตอนนี้มี Tutorials สอนสำหรับ Docker, Kubernetes, Jenkins, Ansible, Prometheus Monitoring, Terraform, YAML และเครื่องมืออื่น ๆ ที่สำคัญคือ ตอนนี้คุณ Nana ได้รับตำแหน่งสำคัญต่าง ๆ เช่น Docker Captain, AWS Container Hero & CNCF Ambassador อีกด้วย

หากคุณเป็น Software Developer มาสักระยะหนึ่ง คุณจะรู้ว่า DevOps Technologies กำลังมาแรงในวงการไอที ซึ่ง Tutorials เหล่านี้มีราคาค่อนข้างสูงหากคุณลองดูใน Udemy หรือ Platform อื่น ๆ อย่างไรก็ตาม คุณ Nana ได้ทำ Tutorials สอนอย่างมืออาชีพและง่ายต่อการทำความเข้าใจ ด้วยการสอนแบบทำให้ดูทีละขั้นตอน หากคุณต้องการเก่งในอาชีพ DevOps ช่องนี้เป็นขุมทรัพย์ทองคำสำหรับคุณเลยแหละ

7. Traversy Media

Channel Link: https://www.youtube.com/c/TraversyMedia
Subscribers: 1.78M

นี่เป็นอีกช่องหนึ่งที่เจ๋งมาก ซึ่งเริ่มต้นจากคุณ Brad Traversy ซึ่งหากย้อนกลับไปในปี 2552 ช่อง YouTube นี้ มีทุกสิ่งที่ Web Developer อยากรู้ มันมี Tutorials เกี่ยวกับ Coding Skills และภาษา Programming ต่าง ๆ เช่น HTML, CSS, Python, PHP และ JavaScript รวมไปถึง Front-end Frameworks และ Libraries อย่าง React, Angular และ Vue

ช่องนี้ยังมีวิดีโอที่หลากหลายทั้งจาก คุณ Brad และ Tutors รับเชิญท่านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น “Vanilla JavaScript Search App”, “Getting Started With Open Source & GitHub”, “Build A Simple Android App With Kotlin” และ “7 Tips to Ace Job Interviews” รวมถึง Tutorials ที่น่าสนใจสำหรับเรียนรู้อีกหลายร้อย Tutorials

8. Will Kwan

Channel Link: https://www.youtube.com/c/WillKwan
Subscribers: 132K

เป็นอีกช่องที่น่าสนใจอย่างมาก เริ่มต้นโดย คุณ Will Kwan ที่จบสาขา Computer Science ในปี 2559 ซึ่งเขาสร้างวิดีโอเกี่ยวกับการทดลองของเขาเอง โดยใช้ Artificial Intelligence และ Digital Nomads, Web Development Courses และอื่น ๆ อีกมากมาย

ซึ่งช่อง YouTube นี้สามารถทำให้คุณรู้สึกทึ่งกับการดูวิดีโอทั้งหมดของคุณ Will Kwan วิดีโอของเขาสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้คุณเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Machine Learning และ AI

9. Java Brains

Channel Link: https://www.youtube.com/c/JavaBrainsChannel
Subscribers: 563K

ไม่ต้องสงสัยเลยว่า นี่เป็นหนึ่งในช่องที่ดีที่สุดช่องหนึ่งบน YouTube สำหรับ Java และ Frameworks โดยคุณ Koushik Kothagal ซึ่งเป็น Staff Engineer ของ LinkedIn เป็นผู้สร้างช่องนี้ขึ้นมา เขาจะ Upload วิดีโอที่เกี่ยวกับทุกสิ่งที่ Java Developer ควรรู้ขณะที่ทำงานใน Software Industry คำอธิบายแนวคิดของเขานั้นยอดเยี่ยมมาก และเขามักถูกเรียกว่า เป็นหนึ่งในผู้สอน Java ที่ดีที่สุดบน Platform นี้เลย

คุณ Koushik ยัง Upload วิดีโอที่น่าสนใจมากมาย เช่น “Building a Coronavirus tracker app with Spring Boot and Java”, “What is OAuth really all about”, “5 common LeetCode mistakes with Coding Interview Prep”, “What is API gateway really all about?” และอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งช่องนี้ยังมีวิดีโอเกี่ยวกับ Angular, NodeJS, OAuth และ Frameworks อื่น ๆ อีกด้วย

เป็นยังไงกันบ้างกับ YouTube Channels ที่ Developer ต้องกด Subscribe หวังว่าจะมีประโยชน์สำหรับทุกท่านนะคะ หากคุณเป็น Developer และคุณพร้อมที่จะก้าวหน้าในสายงาน สามารถติดต่อ ISM Technology Recruitment และส่ง Resume ของคุณมาได้ที่ https://www.ismtech.net/submit-your-resume แล้วคุณจะพบว่าอนาคตและโอกาสก้าวหน้ากำลังรอคุณอยู่

ISM เชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ เปิดทำการมากว่า 30 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย

Source: https://levelup.gitconnected.com

then