#1 tech recruiter in thailand

ความเข้าใจผิด 50 ประการ ในแวดวง Software Development

See the original English version of this article here

ใครที่อยู่ในแวดวง Software Development เชื่อว่า น่าจะต้องเจอเรื่องราว ความคิดเห็น หรือประสบการณ์มากมาย ทั้งที่ “ถูกต้อง” และ “ผิด” วันนี้ทีมงานได้รวบรวม ความเข้าใจผิด 50 ประการ ในแวดวง Software Development มาให้อ่านกัน ใครเคยเจอแบบไหนมาบ้าง มาแชร์กันได้เลย

  1. เขียน Unit Tests = ทำ Test Driven Development
  2. ทำ 100% Test Coverage Report = Code เสร็จเรียบร้อยแล้ว
  3. สร้าง deployment artifacts โดย central machine = ทำ Continuous Integration
  4. Developer ทุกคนเช็ค Code ใน Branch ของ Remote Central Repository เพื่อจะ Merge กับ Main Branch ในภายหลัง = ทำ Continuous Integration
  5. ใช้เวลา Coding นานหลายชั่วโมง = Commitment
  6. การขลุกอยู่กับ Code จำนวนมากๆ = Geek
  7. ทีม(ง่อยๆ) ที่พึ่งพาเพียง Developer เพียงคนเดียว = เป็น Developer ดาวเด่นของทีม
  8. คนในตำแหน่ง CTOs, Architects และตำแหน่งใกล้เคียง ไม่ชอบ Coding
  9. Commitment = Estimate
  10. CTO มีหน้าที่เป็นผู้นำ/แนะแนวทางให้ทีม Development ไม่จำเป็นต้องเข้าใจ Business
  11. การมี Product ที่มี Feature เยอะหลายอย่าง = สามารถรับประกันความสำเร็จได้ในเวลาอันสั้น
  12. Idea ถือเป็นสิ่งหายากและมีราคาแพง ส่วน Execution/Implementation มีราคาถูก
  13. Developers ไม่ต้องเข้าใจใน Business เพราะมันเป็นหน้าที่ของ Business Analysts และ  Product Managers
  14. Developers ถือเป็นสิ่งที่ราคาถูกและสามารถทดแทนได้ง่าย
  15. MVP = Lean Startup
  16. รูปแบบของ MVP เช่น Minimum Lovable Product, Minimum Awesome Product และอื่นๆ เป็น Lean Startup++
  17. Startups ไม่ต้องทำ TDD เนื่องจากไม่มีเวลามากพอ
  18. Enterprises ไม่ต้องทำ TDD เพราะสามารถจ้าง Developers ที่เก่งๆ ได้
  19. Startups หวังว่าจะจ้างคนเก่งๆ ด้วยการพูดจาหว่านล้อมต่างๆ แต่ให้เงินเดือนที่น้อยกว่าที่ควรเป็น
  20. Enterprises หวังว่าจะจ้าง Developers เก่งๆ ด้วยการนำเสนอจุดเด่นขององค์กร
  21. Culture ของทีมที่เพิ่งตั้งใหม่(ยังไม่เสถียร) = Culture ทีมที่มีการเปิดกว้างทางความคิด
  22. การลด Level ของสายการบังคับบัญชาในองค์กร = สายการบังคับบัญชาแบบราบ(Flat hierarchy)
  23. ความสามารถในการคาดเดาความต้องการของ Users และเพิ่ม Features ใน Product = Product Management
  24. ผู้ที่เรียนจบ MBA สมควรได้เป็น Product Managers
  25. การมี Features มากๆ = มี UX ที่ดีมาก
  26. การขาย Product ไม่ใช่เรื่องยาก
  27. การพัฒนา Product ให้เติบโตและรุ่งเรื่องยิ่งขึ้น เป็นเรื่องของศาสตร์และไม่เกี่ยวกับเรื่องศิลป์
  28. Code ที่ดูฉลาดล้ำ ดีกว่า Code ที่อ่านได้ง่าย
  29. Code ที่มีความกระชับ ดีกว่า Code ที่ maintain ได้ง่าย
  30. Product Manager > BA > Developer > UX Specialist > Quality Analyst
  31. ทุกๆ Task เป็น User Story ใน Agile
  32. การเพิ่ม Story Points ลงใน Bugs = การปรับปรุงเรื่องความเร็ว
  33. SAFe เป็น Agile ที่ปลอดภัยสูงสุด
  34. ยิ่งเพิ่มความเร็ว = เพิ่มความเป็น Agile สูงขึ้น
  35. TDD ทำให้เสียเวลา และมันเหมาะกับ Developers ทั่วไปเท่านั้น
  36. Pair-Programming เหมาะสมที่จะใช้กับ Developers ทั่วไป
  37. Agile Certification = ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับ Agile
  38. SAFe เป็น scalable Agile
  39. การคาดเดาความต้องการของ End-User = การวิเคราะห์ Business
  40. การใช้ framework จะช่วยแก้ปัญหาเรื่อง scability ได้เสมอ
  41. Cloud = Scalability
  42. Machine Learning เป็นเรื่องเกี่ยวกับ Algorithms และไม่เกี่ยวข้องกับความรู้
  43. การวิเคราะห์ เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับความรู้
  44. จุดแข็งของ Agile Coach คือการรู้จักที่จะใช้ Tools อย่าง Jira เป็นต้น
  45. Software Craftsmanship เป็นเรื่องของการใช้ Tools อย่าง Jenkins, SonarQube เป็นต้น
  46. ทีม DevOps เป็นชื่อใหม่เก๋ๆ ของทีม Infrastructure Management
  47. Agile เป็นวิธีการใหม่ในการบริหารจัดการ Developers
  48. UX เป็นทุกสิ่งทุกอย่างของ UI
  49. Full-Stack Developer = Frontend Developer + Backend Developer + Infrastructure Developer
  50. Product Manager คือ Project Manager คนใหม่

ไม่ทราบว่ามีใคร หรือคนรู้จักที่อยู่ในแวดวง Software Development กำลังเข้าใจอย่างในบทความนี้อยู่บ้าง???

ISM Technology Recruitment Ltd. (#1 Tech Recruiter in Thailand) เราเชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ เปิดทำการกว่า 25 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย หากคุณเป็นคน IT ที่อยากทำงานท้าทายและร่วมงานกับองค์กรชั้นนำ สามารถฝากประวัติการทำงาน (Resume) ของคุณไว้กับ ISM ได้ที่ https://www.ismtech.net/submit-your-resume แล้วคุณจะพบว่าอนาคตและโอกาสก้าวหน้ากำลังรอคุณอยู่

Source:  https://hackernoon.com/

en