See the original English version of this article here
ปัจจุบัน Programmer เป็นอาชีพที่เป็นที่ต้องการสูงและมีรายได้ที่ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับสาขาอาชีพอื่น ขณะเดียวกันก็ยังสามารถหารายได้เสริมนอกจากการทำงานประจำได้อีก และนอกจากเป็นการเพิ่มรายได้แล้ว ยังเป็นการเพิ่มทักษะ-ประสบการณ์ไปด้วยในตัว ในบทความนี้จะมาแนะนำ 5 ช่องทาง ในการหารายได้เสริมของ Programmer
1. Freelance
การเป็น Freelancer ถือเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยมสำหรับ Programmer เพราะคุณสามารถบริหารจัดการทุกสิ่งทุกอย่างได้ด้วยตนเอง แถมยังมี Project ที่หลากหลายให้คุณได้เลือกทำตามความถนัด คุณอาจทำเป็นอาชีพเสริมช่วงหลังเลิกงาน/วันหยุด หรือแม้แต่ Programmer บางคนที่ออกมาทำงาน Freelance แบบเต็มตัว ก็มีให้เห็นมากมาย แต่สิ่งที่จำเป็นของการเป็น Freelancer ก็คือ “คุณต้องมีวินัย” และ “ต้องรู้จักหาลูกค้าหรือ Project ใหม่อย่างต่อเนื่อง”
คุณสามารถใช้ Platform ต่าง ๆ ในการหางาน Freelance ได้ ไม่ว่าจะเป็น Upwork, Fiverr หรือ Platform ใดก็ตามที่คุณรู้จักหรือคุ้นเคย แต่คุณก็ต้องแข่งขันกับ Freelancer รายอื่น ๆ ด้วย นอกจากนี้คุณยังสามารถหาลูกค้าใหม่ ๆ ได้จากการ Refer ของลูกค้าเก่า/ปัจจุบันของคุณ หรือจากการร่วมงานประชุมสัมมนา หรือ Meetups ต่าง ๆ
สำหรับใครที่ประสบการณ์ยังไม่มากหรือเพิ่งลองทำในช่วงแรก ๆ ก็อาจลองทำ Project ขนาดเล็กที่รายได้ต่อ Project ยังไม่สูงก่อน เพื่อชิมลางและเก็บเกี่ยวประสบการณ์
2. แข่งขัน Coding Contests
ปัจจุบันจะเห็นว่า มีการจัดการแข่งขันเกี่ยวกับ Programming Contests โดยให้เงินรางวัลสำหรับผู้ชนะอยู่หลายงาน
ถ้าพูดถึงการจัดงานแข่งขันที่ใหญ่จริง ๆ ก็คือ งานของ Topcoder ที่มีสมาชิกมากกว่าล้านคนทั่วโลกและมีการแข่งขันที่หลากหลาย โดยมี 3 Field หลัก ๆ ที่น่าสนใจคือ Design, Data Science และ Development
คุณจะมีโอกาสได้ทำงานใน Project จริง ๆ ที่ริเริ่มโดยบริษัทต่าง ๆ มากกว่า 2,000 แห่ง หรือ อาจแข่งขันกับคู่แข่งแบบเดี่ยว ๆ ซึ่งแน่นอนว่า มันจะทำให้คุณสนุก และช่วยเพิ่ม Learning Curve ของคุณได้อย่างรวดเร็ว
หากคุณชอบความท้าทาย ช่องทางนี้ถือว่าเหมาะสมอย่างยิ่ง แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากนี่คือการแข่งขัน ดังนั้นการที่จะได้เงินรางวัล คุณจะต้องเป็นผู้ชนะหรือติดอันดับตามที่ผู้จัดการแข่งขันกำหนดไว้เท่านั้น
3. นักเขียน
การเป็นนักเขียน ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ยอดเยี่ยมในการเข้าถึงผู้อ่านในวงกว้างได้ มีโอกาสมากมายสำหรับคุณที่จะเริ่มเขียนและทำเงินจากมัน:
คุณสามารถเริ่มเขียน Blog ของคุณเองแล้วสร้างรายได้จากโฆษณา
คุณสามารถเขียนหนังสือ หรือ e-books และขายผ่าน Online ได้
คุณสามารถเขียนบน Platform อย่าง Medium และเข้าร่วมใน Partnership Programs ของพวกเขา
คุณสามารถเขียน Guest Posts สำหรับ Site ที่สร้างขึ้นอย่าง CSS-Tricks ที่จะจ่ายเงินให้คุณหากบทความของคุณได้รับการยอมรับ
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่คุณควรพิจารณาคือ เลือกเรื่อง/หัวข้อที่คุณมีความสนใจเป็นพิเศษ (สร้างแรงจูงใจให้กับคุณ), เขียนสิ่งเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง (ซึ่งอาจต้องใช้เวลากว่าคนจะรู้จักและยอมรับ) และพัฒนาทักษะการเขียนของคุณอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บทความออกมาอย่างมีคุณภาพ
4. Online Courses
ความสามารถในการสอนผู้อื่น ผ่านช่องทาง Online ถือเป็นหนึ่งในสิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และอาจยังเป็นเช่นนั้นไปอีก 10 ปีข้างหน้า
สิ่งนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับทั้งผู้เรียนและผู้สอน โดยตัวผู้เรียนเอง สามารถเลือกหัวข้อ/เนื้อหาที่หลากหลาย และเรียนรู้ตามเวลาที่แต่ละคนสะดวก ส่วนผู้สอนเอง ก็สามารถเข้าถึงผู้คนนับพันหรือนับแสนคนด้วยบทเรียน/เนื้อหาของพวกเขา
หากคุณมีประสบการณ์เกี่ยวกับ Programming เช่น มีความเชี่ยวชาญใน ภาษาอย่าง JavaScript หรือ Python (หรือภาษา/Framework อื่น ๆ ที่เป็นที่นิยม) หรือแม้กระทั่ง Penetration Testing เฉพาะทางบางอย่าง รวมทั้งคุณมีความสามารถและสนุกกับการสอนผู้อื่น การสร้าง Online Courses ก็ดูจะเป็นสิ่งที่คุณน่าจะลองทำดู
มีหลาย Platforms ที่คุณจะสามารถเผยแพร่ Courses ของคุณ อย่างเช่น Udemy ซึ่งมีผู้เข้าชมประมาณ 75 ล้านคนต่อเดือนและมีโอกาสที่พวกเขาจะสนใจ Courses ของคุณ นอกจากนี้ยังมี Platforms อื่นที่น่าสนใจอย่าง Frontend Masters หรือ Pluralsight อีกด้วย
สิ่งที่ควรพิจารณาเมื่อคุณสร้าง Online Courses:
ลงทุนในเรื่องอุปกรณ์: ไมโครโฟนและกล้องที่มีคุณภาพ ถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก
Content ที่มีคุณภาพสูง เป็นเรื่องสำคัญที่สุด: ปัจจุบันมี Content เกิดขึ้นมากมายและมีการแข่งขันกันสูง ดังนั้นคุณต้องทำให้ผู้เรียนรู้สึกว่า พวกเขาจะได้ความรู้จาก Courses ของคุณ
ฝึกพูดให้คนอื่นเข้าใจและชัดถ้อยชัดคำ
หมั่นเข้าไป Update เนื้อหาของคุณอยู่เสมอ
อย่าลืมสร้างสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ Courses ของคุณด้วย เช่น GitHub Project, Presentations, ตัวอย่าง Code เป็นต้น
แม้มันจะน่าดึงดูดใจเมื่อมีผู้คนเริ่มซื้อ Online Courses ของคุณ ซึ่งมันจะกลายเป็น Passive Income ของคุณ แต่สิ่งสำคัญที่ผู้สอนควรทำก็คือ การ Update เนื้อหาตาม Technology ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอยู่สม่ำเสมอ
5. Podcast
มี Programmer บางคนที่อาจไม่ชอบอยู่ต่อหน้ากล้อง แต่พวกเขายังสามารถเผยแพร่ความรู้ผ่านวิธีการอื่นได้ ซึ่ง Podcast ถือเป็นสื่อที่ตอบโจทย์ได้เป็นอย่างดี ปัจจุบัน Podcast ได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้นในช่วง 4-5 ปีมานี้ มันสามารถเข้าถึงผู้คนได้มากมายในขณะที่ผู้ฟังเดินทางไปทำงาน/กลับบ้าน หรือฟังก่อนที่จะเข้านอน
ปัจจุบันคุณสามารถฟัง Podcast ส่วนใหญ่ได้แบบฟรี ๆ แต่คนทำ Podcast หลายคน อาจได้เงินจาก Sponsors ใน Episodes ที่กล่าวถึงพวกเขา แหล่งรวม Podcaster ที่ใหญ่มากแห่งหนึ่ง ก็คือ Patreon ซึ่งเป็น Platform ที่ผู้ฟังสามารถจ่ายเงินเป็นรายเดือนเพื่อสนับสนุนงานของเหล่า Podcasters และปลดล็อก Exclusive Content
เพื่อที่จะประสบความสำเร็จกับ Podcast คุณควรมีความรู้ในเรื่องที่จะพูดและความสามารถในการถ่ายทอดเรื่องราว คุณควรลงทุนในอุปกรณ์ที่มีคุณภาพ (ไมโครโฟน) และที่สำคัญที่สุดคือ มีความอดทนในการ Record แต่ละ Episode อย่างสม่ำเสมอ
มันไม่ใช่เรื่องแปลกที่คนทำ Podcast จะสร้างแต่ละ Episode ในทุกสัปดาห์ เป็นเวลา 1 – 2 ปีก่อนที่จะเห็นความคืบหน้าในแง่ของจำนวนและ Feedback ของผู้ฟัง ดังนั้น จะดีมากหากคุณมี Passion เกี่ยวกับเรื่องนี้
หวังว่า ช่องทางเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับ Programmer ที่จะลองเลือกช่องทางที่คุณถนัด หรือคิดว่าเหมาะสมกับตัวคุณ ที่สุด ความสำเร็จไม่ได้เกิดในชั่วข้ามคืน มีคนจำนวนมากที่อาจล้มเลิกกลางคัน แต่มีเพียงไม่กี่คนที่ยังยืนหยัดทำต่อไปจนประสบความสำเร็จในที่สุด
ISM Technology Recruitment Ltd. (#1 Tech Recruiter in Thailand) เราเชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ เปิดทำการกว่า 30 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย หากคุณเป็นคน IT ที่อยากทำงานท้าทายและร่วมงานกับองค์กรชั้นนำ สามารถฝากประวัติการทำงาน (Resume) ของคุณไว้กับ ISM ได้ที่ https://www.ismtech.net/submit-your-resume แล้วคุณจะพบว่าอนาคตและโอกาสก้าวหน้ากำลังรอคุณอยู่
Source: https://medium.com/