See the original English version of this article here
คุณ Alexander เคยทำงานที่ Amazon และ Microsoft ในฐานะ Software Engineer มาก่อน และตอนนี้เขาทำงานที่ Google ทำให้เขามีโอกาสเห็น Onboarding Processes มาหลากหลายรูปแบบ และเขาคิดเสมอว่าทุกบริษัทคงมีรูปแบบคล้าย ๆ กัน แต่พอได้มาร่วมงานที่ Google ทำให้เขาเปลี่ยนความคิด มาดูกันว่าอะไรทำให้เขาคิดอย่างนั้น กับบทความ ทำไม? การเริ่มทำงานที่ Google จึงแตกต่างจากที่อื่น จากประการณ์ของคุณ Alexander
คุณ Alexander ทำงานเป็น Software Engineer ที่ Google โดยเขาเคยคิดว่าการเข้าร่วมทำงานไม่ว่าจะกับบริษัทไหน ก็คงมีรูปแบบ Onboarding Processes เหมือน ๆ กันทุกบริษัท แต่เมื่อเขาเข้าร่วมทำงานกับ Google ก็ทำให้ความคิดของเขาเปลี่ยนไป เนื่องจากเขาสามารถแก้ไข Code ได้ตั้งแต่วันแรกที่ร่วมงานกับ Google และนี่คือ 4 บทเรียนที่ได้เรียนรู้ จาก Google ในฐานะ Software Engineer
1. เรียนรู้ Product จากมุมมองของลูกค้า
ไม่ว่าคุณกำลังพัฒนา Product ใดอยู่ Product นั้นก็ควรตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งการเข้าใจความต้องการเหล่านั้นจะสอนคุณว่า:
-
-
- ทำไมคุณถึงทำงานใน Project นั้น ๆ
- สิ่งที่ Product ทำได้ดี และทำได้ไม่ดี
-
หากคุณกำลังทำงานหรือพัฒนาเกี่ยวกับ Subtitles (คำบรรยาย) ของ YouTube คุณจะรู้สึกสนใจใน Project ของคุณมากขึ้น หากคุณรู้ว่า Subtitles ถูกใช้บ่อยเพียงใด และเหตุใดการเปลี่ยนสีข้อความตามพื้นหลังจึงเป็นสิ่งสำคัญ
วิธีที่เร็วที่สุด ในการเริ่มต้นเรียนรู้เกี่ยวกับ Product ของคุณ คือ
-
-
- อ่าน Public Relations Document (PRD) หรือเอกสารข้อเสนอทางธุรกิจสำหรับ Project (Business Proposal Document)
- โต้ตอบกับ Product ในฐานะ User ทั่วไป เพื่อทำความเข้าใจจุดอ่อน และจุดแข็ง
-
เมื่อคุณได้เรียนรู้แล้วว่า Product คืออะไร คุณจะเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่า Metrics ใดบ้างที่มีความสำคัญ และเพราะเหตุใด
2. เรียนรู้เกี่ยวกับ Metrics ที่สำคัญที่สุดของ Product
การเรียนรู้ว่า ทีมของคุณกำลังติดตาม Metrics ใดสำหรับ Product นั้น เป็นวิธีที่ง่ายในการกำหนดสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เกี่ยวกับ Product
-
-
- การแปล Subtitles เป็นภาษาต่าง ๆ มีความสำคัญหรือไม่?
- หรือสิ่งสำคัญเหนือกว่านั้นคือ การที่ Subtitles ปรากฏขึ้นอย่างต่อเนื่อง?
-
ไม่ว่า Product นั้นจะเป็นอะไรหรือเกี่ยวกับอะไร การทำความเข้าใจ Metrics ที่สำคัญที่สุด ที่เกี่ยวกับ Product นั้น จะช่วยสอนคุณได้อย่างรวดเร็วว่า อะไรที่สำคัญและไม่สำคัญ สำหรับ Product ของคุณ
ไม่ใช่ทุกสิ่งที่เกี่ยวข้องกับ Subtitles จะมีความสำคัญ ซึ่ง Metrics จะบอกคุณว่า สิ่งไหนมีความสำคัญอย่างไร และ Metrics เหล่านั้น จะบอกคุณด้วยว่า Bugs ตัวใดที่คุณควรใส่ใจ
3. อ่าน Code l อ่าน Bugs l แก้ไข Bugs
ตอนนี้คุณมีโอกาสที่จะเลือก Bug ง่าย ๆ โดยจาก Bug ที่คุณได้รับมอบหมาย คุณจะมีโอกาสในการเจาะลึก Code และให้เหตุผลว่ากำลังทำอะไรอยู่และทำอย่างไร คุณจะเห็นวิธีการแปล Subtitles การนำเสนอบนหน้าจอ และการสลับเปิดปิด
แม้ว่าการได้รับหมอบหมายงานให้หา Bug และแก้ไข นั้นดูปกติเหมือนบริษัทอื่น ๆ แต่ที่ Google ได้สร้างกรอบความคิด หรือ Mindset ขึ้น เพื่อแก้ไข Bugs ไว้แล้ว โดยทันทีที่คุณลงมือทำ หากมีอะไรบางอย่างใน Code ที่ดูแล้วไม่ค่อยสมเหตุสมผล คุณสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเองทันที แม้ว่าจะไม่ใช่หนึ่งใน Bugs ที่คุณได้รับมอบหมายงานมาก็ตาม
ยกตัวอย่างเช่น หาก Bug ของคุณ คือ การแก้ไขการสลับเปิดและปิด Subtitles และคุณสังเกตว่าคำว่า “เปิด/ปิด” ยังไม่ได้แปลภาษา คุณสามารถแก้ไขได้ด้วยตนเอง หากคุณรู้ว่าวิธีว่าต้องทำอย่างไร
การที่คุณได้ลองแก้ไข Code หรือ Bug ที่มากกว่าสิ่งที่คุณได้รับมอบหมาย จะช่วยทำให้คุณได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นหรือพัฒนา มากกว่า การแก้ไขเฉพาะเรื่องที่ทราบหรือที่เชี่ยวชาญอยู่แล้วเท่านั้น
4. อ่าน “เอกสารการออกแบบ” l นิยาม “คำศัพท์”
หลังจากแก้ไข Bugs เพียงพอแล้ว คุณจะเข้าใจวิธี Contribute ใน Codebase ได้ดีขึ้น ซึ่งเมื่อคุณเริ่มทำงานใน Project ใด ๆ แน่นอนว่ามักจะรู้สึกหนักใจในการทำความเข้าใจ Flow ตั้งแต่ต้นจนจบของ Product เพราะมีข้อมูลจำนวนมากให้เรียนรู้อยู่เสมอ
แต่การอ่าน Code นั้น อาจไม่เพียงพอในการเรียนรู้ระบบทั้งหมดเสมอไป ดังนั้น คุณจะต้องอ่าน “เอกสารการออกแบบ” ที่ทีมของคุณเขียนขึ้นเมื่อต้องออกแบบระบบนั้น ๆ
ขอให้ใช้เวลาอ่านเอกสารและ Focus กับคำศัพท์เฉพาะของระบบที่คุณไม่รู้จัก หากมี “Toggling Service” ให้เจาะลึกเพื่อเรียนรู้ว่ามันทำอะไร และทำไมมันถึงมีอยู่ หากมี “Translation Service” ให้ทำความเข้าใจวิธีการทำงานและวิธีที่ทีมของคุณใช้
ดังนั้น พอถึงเวลาจริง การพยักหน้าทำเหมือนว่าคุณเข้าใจระบบ เมื่อคนอื่นพูดถึงสิ่งนั้น ๆ มันจะไม่ช่วยอะไรคุณเลย ลองเรียนรู้คำศัพท์ที่คนอื่นใช้ และคุณจะใช้เวลาน้อยลงในการเดาว่า “Translation Service” คืออะไร และคุณจะมีเวลามากขึ้นในการทำความเข้าใจว่า เหตุใดจึงเกิดปัญหาและวิธีที่จะแก้ไขมัน
และทั้งหมดนี้ก็คือเหตุผลว่า ทำไม? การเริ่มทำงานที่ Google จึงแตกต่างจากที่อื่น
หวังว่า 4 บทเรียนที่ Alexander ได้เรียนรู้ จาก Google ในฐานะ Software Engineer จะมีประโยชน์สำหรับทุกท่านนะคะ
คุณสามารถ หางาน IT หรือส่ง Resume มาสมัครงานกับเราได้ที่ https://www.ismtech.net/submit-your-resume ให้ ISM Technology Recruitment เป็นอีกหนึ่งตัวช่วย ให้คุณได้ “ชีวิตการทำงานในแบบที่คุณต้องการ”
ISM เชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ เปิดทำการมากว่า 30 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย
Source: https://levelup.gitconnected.com/