#1 tech recruiter in thailand

5 ทัศนคติ ที่ฉุดรั้งประสิทธิภาพของ Programmer

See the original English version of this article here

เมื่อเปรียบเทียบ Programmer ที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ และไม่มีประสิทธิภาพแล้ว ข้อแตกต่างไม่ใช่มีแค่เพียงเรื่องทักษะการ Coding เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับพื้นฐานที่สำคัญอื่น ๆ ด้วยอย่าง ทัศนคติและแนวคิดบางอย่าง ซึ่งคุณ Ravi Shankar Rajan จะมาบอกเราถึง 5 ทัศนคติ ที่ฉุดรั้งประสิทธิภาพของ Programmer ซึ่งคุณควรหลีกเลี่ยง

1. Code ของฉัน ยอดเยี่ยมที่สุด

คนที่เป็นที่ต้องการของทีม มักจะเป็นคนที่มีลักษณะ ดังนี้

    • อ่อนน้อม: ไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้งมากจนเกินไป (ลด EGO ของคุณลง) Focus ไปที่เพื่อนร่วมทีมมากกว่าตัวเอง
    • ใฝ่รู้: มีจรรยาบรรณในการทำงาน มุ่งมั่นที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จ และมีส่วนร่วมในสิ่งที่สามารถทำได้
    • เฉลียวฉลาด: ไม่เพียงมีสติปัญหาที่เฉลียวฉลาดเท่านั้น แต่ยังฉลาดในเรื่องความรู้สึกนึกคิดและนิสัยใจคอด้วย

เราไม่ควรด่วนตัดสินหรือวิพากษ์วิจารณ์ Code ที่คนอื่นเขียน แต่รู้จักที่จะสังเกตสิ่งต่าง ๆ อย่างมีจุดประสงค์และเป็นมืออาชีพ รู้จักที่จะเป็นคนที่อ่อนน้อมถ่อมตน และพยายามเรียนรู้จากทุกคนที่อยู่รอบตัว

โปรดจำไว้เสมอว่า “EGO” จะเป็นอุปสรรคต่องานของคุณ หากคุณมีความเชื่อว่า คุณคือคนสำคัญที่สุดหรือยิ่งใหญ่ที่สุด เมื่อนั้นความคิดสร้างสรรค์ของคุณจะเริ่มลดลง ๆ รวมทั้งการเรียนรู้ของคุณจะหยุดลงในวันที่คุณเริ่มคิดว่า ไม่มีอะไรที่ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมอีกต่อไปแล้ว

2. ฉันสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างง่ายดาย

จงทำในสิ่งที่คุณชอบ เปิดโอกาสให้ตัวคุณเองใช้ชีวิตให้คุ้มค่ามากที่สุด ใคร ๆ ก็มักชอบใช้ทางลัด แต่บางครั้งการใช้ทางลัด ก็ไม่ได้หมายความว่า จะได้ผลลัพธ์ที่ดีเสมอไป การใช้ทางลัดเป็นสิ่งที่มักดึงดูดใจผู้คน ซึ่งจริง ๆ แล้วในบางสถานการณ์ ทางลัดก็อาจเป็นสิ่งที่เหมาะสมที่จะใช้ แต่มันก็มีจุดที่ต้องระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยง ทางลัดที่ผิด ๆ อาจช่วยให้คุณประหยัดเวลาไม่กี่ชั่วโมง แต่อาจทำให้คุณต้องเสียใจกับมันเป็นเดือน ๆ และอาจทำให้เสียชื่อได้เช่นกัน

3. ฉันจำได้หมดทุกอย่าง ไม่ต้องทำ Documentation หรอก

Manager คิดว่าการทำ Documentation ดีต่อ Programmer แต่ Programmer กลับไม่ชอบมันสักเท่าไหร่ มีการกล่าวกันว่า Developer ที่ดี มักจะทำ Documentation เป็นหนึ่งในกิจวัตรประจำวันของพวกเขา

เราคงรู้กันดีอยู่แล้วว่า คนในทีมพัฒนา Software มักจะมีการหมุนเวียนเปลี่ยนไปอยู่เรื่อย ๆ เพราะ Programmer อาจเปลี่ยนงาน ย้ายไปแผนกอื่น หรือลาออกไป แต่ในสถานการณ์อื่น ๆ อย่าง กรณีเจ็บป่วย บาดเจ็บ หรือเสียชีวิต อาจส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมาชิกในทีมไปด้วย

อายุของ Code ก็เช่นกัน ตัว Developer เองก็อาจลืมว่า Code ที่เคยเขียนไว้ทำงานอย่างไร หากพวกเขาไม่ได้เข้าไปดูมันเป็นเวลานาน ๆ อาจเป็นปี ๆ หรือมากกว่านั้น

บางครั้ง การเข้าถึง design documents, API specifications, manual pages และ code comments ก็อาจส่งผลถึง ความแตกต่างระหว่าง Product ที่จะจัดส่งกับ Deadline ที่ถูกเลื่อนให้เร็วขึ้นหรือช้าลงได้เช่นกัน

4. ฉันไม่ได้ทำนะ

โดยทั่วไป คนเราจะมีข้อแก้ตัวให้กับตนเองเสมอ เรามักจะพูดว่า ภายใต้สภาวะปกติ เราจะไม่ทำอะไรผิดพลาด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว มันค่อนข้างยากที่จะเชื่อว่าเป็นแบบนั้น

Developer ที่แย่ ๆ จะกล่าวโทษลูกค้าที่ไม่ใช้ Product ของเขา “อย่างถูกต้อง” Developer ที่แย่ ๆ จะไม่รู้สึกถึงความเป็นเจ้าของและไม่รู้สึกรับผิดชอบต่อ Product และ Bug ที่เกิดขึ้น

การมีทัศนคติที่ดี จะถูกส่งผ่านคำพูดออกมา เช่น “ใช่แล้ว ต้องขอโทษด้วย ฉันต้องทำแบบนี้เพื่อแก้ไขปัญหา มันเป็นความผิดของฉันเอง” ซึ่งสิ่งนี้จะแสดงถึงความรับผิดชอบของคุณและช่วยให้คุณได้รับการยอมรับที่ดีจากเพื่อนร่วมงาน ยิ่งคุณยอมรับความผิดพลาดของคุณเร็วขึ้นเท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งเรียนรู้และแก้ไขปัญหาได้มากขึ้นเท่านั้น

5. งานของคุณยังไม่เสร็จ(อย่างแท้จริง)

คำว่า “งานเสร็จ” อย่างแท้จริง ในที่นี้ คือ เป็นงานที่ต้องผ่านการ “Test” และ “Approve” จาก User ที่เป็นผู้ใช้งานของ Project/Software นั้นจริง ๆ หากเป็นงานที่คุณเป็นคนบอกว่าเสร็จ แบบนี้ถือว่า มันยังไม่เสร็จสมบูรณ์อย่างแท้จริง

Developer ที่ดี จะมีความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา พวกเขามุ่งมั่นที่จะทำความเข้าใจว่า ส่วนต่าง ๆ ของสถาปัตยกรรมทำงานร่วมกันได้อย่างไร และพวกมันมีสถานะอย่างไรบ้าง พวกเขาจะตั้งคำถามเกี่ยวกับการออกแบบและแนวคิดที่อยู่เบื้องหลัง Feature ต่าง ๆ ที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา พวกเขาเข้าใจถึงสิ่งที่ช่วยสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีให้แก่ User

ในทางกลับกัน Developer ที่ไม่ดี มักจะติดอยู่กับเทคโนโลยีที่พวกเขาชื่นชอบ พวกเขามักเชื่อว่า Method หรือ Process เป็นสิ่งที่ “ดีเลิศ” อยู่แล้วและประสบการณ์ของ User รวมทั้งสถานการณ์บางอย่างก็ไม่ควรมีผลต่อการตัดสินใจ พวกเขาจะนำการอ้างอิงที่ไม่จำเป็น/ไม่เกี่ยวข้อง มาใช้ใน Project เพื่อให้รองรับความต้องการของพวกเขาเอง ซึ่งความคิด/ทัศนคติแบบนี้เป็นสิ่งที่อันตรายมาก

สรุป

การมีทัศนคติที่ดี จะช่วยให้คุณก้าวหน้าได้รวดเร็วขึ้น การเก่งเรื่องงานอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ควรมีทัศนคติที่ดีและเหมาะสมต่อการทำงานด้วย การมีทัศนคติเชิงบวกกับการคิดบวกในที่ทำงาน จะสะท้อนไปถึงสิ่งที่คุณทำ ซึ่งจะช่วยทำให้คุณเป็นคนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังสามารถกำหนดได้ว่า คุณจะทำ Project ได้ดีแค่ไหน และคนอื่นจะมองคุณอย่างไร ทัศนคติที่ดีจะเผื่อแผ่ไปยังคนรอบข้างได้ จนทำให้เกิดพลังบวกในที่ทำงานของคุณด้วย

ISM Technology Recruitment Ltd. (#1 Tech Recruiter in Thailand) เราเชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ เปิดทำการกว่า 28 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย หากคุณเป็นคน IT ที่อยากทำงานท้าทายและร่วมงานกับองค์กรชั้นนำ สามารถฝากประวัติการทำงาน (Resume) ของคุณไว้กับ ISM ได้ที่ https://www.ismtech.net/submit-your-resume แล้วคุณจะพบว่าอนาคตและโอกาสก้าวหน้ากำลังรอคุณอยู่

Source: https://ravirajan.substack.com/

en