#1 tech recruiter in thailand

ทำไมโปรแกรมเมอร์ ถึงไม่ชอบการประชุม

See the original English version of this article here

สำหรับบทความนี้ ดูจะเป็นบทความที่พูดแทนใจคนไอที โปรแกรมเมอร์หลายๆ คน (อาจรวมถึงสายอาชีพอื่นๆ ด้วย) เชื่อว่าทุกคนรู้ถึงประโยชน์ของการประชุม แต่ก็มีหลายครั้ง เรามักจะพบว่า การประชุมเหล่านั้นยังไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และบทความจะมาบอกถึงเหตุผลว่า ทำไมโปรแกรมเมอร์ ถึงมักไม่ค่อยชอบการประชุม จะเพราะสาเหตุใดบ้าง อ่านได้จากบทความนี้

ลองนึกภาพดูว่า หากคุณกำลังขับรถด้วยความเร็วสูงสุดบนถนนที่ว่างเปล่า แต่…อยู่ดีๆ คุณก็เจอการจราจรที่ติดขัดเป็นเวลานานนับชั่วโมง จากที่คุณคาดว่าจะเดินทาง 8 ชั่วโมง ก็กลายเป็น 9 ชั่วโมง เจอแบบนี้คุณจะรู้สึกอย่างไร?

คราวนี้กลับไปนึกภาพตามอีกว่า กว่าที่คุณจะกลับไปไปใช้ความเร็วที่ระดับสูงสุดได้อีกครั้ง อาจะต้องใช้เวลาอย่างน้อยก็ 30 นาที ไม่ใช่แค่ 10 วินาที แน่นอนว่า การเดินทางของคุณอาจต้องใช้เวลามากกว่า 9 ชั่วโมง 30 นาที หรือช้ากว่าเดิมไปอีกอย่างน้อย 90 นาที

เหตุผลที่มี 30 นาทีเพิ่มขึ้นมา เนื่องจากการทำงานที่ต้องใช้ความคิด ต้องการ  “Flow” หรือคำที่เราคุ้นๆ กันก็คือ “ช่วงที่สมองแล่น” หรือ “ช่วยที่กำลังทำงานลื่นไหลดี” นั่นแหละ  ช่วงที่สมองแล่น คือ ช่วงสภาวะทางจิตใจขณะที่สมองกำลังเกิดประสิทธิผลมากที่สุด และการเข้าสู่ช่วงที่สมองแล่นนั้น ต้องใช้เวลา ดังนั้น การที่เราอยู่ในช่วงที่สมองกำลังแล่นก็เหมือนกับการขับรถด้วยความเร็วสูงสุดบนถนนที่ว่างเปล่า ส่วนการถูกขัดจังหวะก็เหมือนกับที่ติดอยู่ในการจาราจรที่ติดขัดนั่นเอง

ลองนึกต่ออีกว่า คุณกำลังขับรถไปข้างหน้า แล้วต้องเจอการจราจรที่ติดขัดอีก 2-3 ครั้ง สมมติว่าใช้เวลาร่วมๆ 90 นาที แน่นนอนว่าคุณเสียเวลาไปมาก แทบจะทั้งวันด้วยซ้ำ การที่คุณจะกลับมาสมองแล่นใหม่อีกครั้งต้องใช้พลังงานเป็นจำนวนมาก ทุกๆ ครั้งที่ถูกขัดจังหวะ คุณยิ่งต้องใช้พลังมากแถมกว่าจะกลับมาสมองแล่นก็ยากขึ้นอีกด้วย นี่เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไม Programmers หรือใครก็ตามที่กำลังทำงานอย่างสมองแล่นอยู่ ถึงไม่อยากเข้าประชุม Programmer หลายคนอาจ ไม่กล้าบอกหัวหน้างานหรือคนในทีม แต่อันที่จริง “คุณควรบอก” ให้พวกเขาทราบ เพราะการไม่พูดคุยกัน อาจส่งผลเสียมากกว่าที่คิด

ไม่แนะนำว่า การสื่อสารทั้งหมดนั้นต้องเฉพาะแต่ลายลักษณ์อักษรเท่านั้น เพราะอย่างที่เราทราบกันดีว่า Programmer ส่วนใหญ่มักไม่ชอบที่จะเขียนข้อความยาวๆ สักเท่าไหร่หรอก ดังนั้น การสื่อสารด้วยวาจา น่าจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ก็ต่อเมื่อมันสั้นกระชับ กลุ่มเล็กๆ และถูกที่ถูกเวลา ซึ่งที่ว่าสั้นกระชับนั้นๆ คือประมาณ 5-15 นาที ส่วนความหมายของกลุ่มขนาดเล็กคือประมาณ 2-4 คน

การช่วยให้ Programmers ทำผลงานของพวกเขาให้ดีที่สุด สามารถทำได้ด้วยกฏ 2 ข้อง่ายๆ ดังนี้:

  1. พยายามพูดคุยกันในช่วงเช้าก่อนเริ่มทำงาน หรือตอนเย็นก่อนเลิกงาน ให้พวกเขาได้ใช้เวลาทำงานในช่วงที่พวกเขาทำงานได้ดี และใช้ช่วงเวลาหนึ่งในการพูดคุยกัน (หากมีประเด็นต้องคุย) เป็นช่วงเวลาสั้นๆ กับคนกลุ่มเล็กๆ สำหรับทีมที่อยู่กันคนละ Time Zone ต่างที่ต่างเวลา ก็อาจต้องเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถประชุมร่วมกันได้
  2. ไม่ควรจัดตารางการประชุมแบบเดิมซ้ำๆ เช่น รายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือน การประชุมแบบเดิมซ้ำๆ ในที่นี้รวมถึง คนที่เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมากและกินเวลานานเกินความจำเป็นด้วย เพราะมันยากที่จะหาเวลาพูดคุยเกี่ยวกับสิ่งที่สำคัญที่สุดในขณะนั้น

นี่อาจเป็นตารางการทำงานที่ Programmers น่าจะชอบกัน:

หากทีมงานของคุณได้ตารางดังกล่าวนี้ น่าจะทำให้ Programmers และคนในทีมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

อันที่จริงการประชุมก็ยังถือเป็นเรื่องที่จำเป็นอยู่ แต่การประชุมที่ไม่มีประสิทธิภาพ เช่น หัวข้อไม่ชัดเจน ใช้เวลามากเกินไป หรือประชุมแล้วไม่ได้สารุหระข้อสรุปใดๆ ย่อมส่งผลเสียต่อการทำงานมากกว่า ดังนั้น หากเป็นไปได้ การให้โอกาสโปรแกรมเมอร์ได้มีส่วนร่วมเสนอ Schedule การประชุม หรือ จัดการประชุมอย่างมีประสิทธิภาพ น่าจะช่วยให้กาปรระชุมนั้นมีประโยชน์ต่อผู้เข้าร่วมประชุมทุกคน

ISM Technology Recruitment Ltd. (#1 Tech Recruiter in Thailand) เราเชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ เปิดทำการกว่า 25 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย หากคุณเป็นคน IT ที่อยากทำงานท้าทายและร่วมงานกับองค์กรชั้นนำ สามารถฝากประวัติการทำงาน (Resume) ของคุณไว้กับ ISM ได้ที่ https://www.ismtech.net/submit-your-resume แล้วคุณจะพบว่าอนาคตและโอกาสก้าวหน้ากำลังรอคุณอยู่

Source:  https://hackernoon.com/

en