See the original English version of this article here
คนทั่วไปคิดว่างานของ Developer/Software Engineer คือนั่งหน้าคอมพิวเตอร์แล้ว Coding ละก็ นั่นก็ใช่ แต่มันมีอะไรที่ซับซ้อนมากกว่านั้น ซึ่งบทความนี้ถ่ายทอดโดย Amando Abreu เรามาดูกันดีกว่าว่า อันที่จริงการทำงานของ Developer/Software Engineer เขาทำอะไร ต้องการอะไร และมีแนวทางแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง
โดยทั่วไปกลุ่ม Programmer/Developer ถือเป็นบุคคลกลุ่มหนึ่งที่มีแรงจูงใจในตัวเองอยู่แล้ว หลายคนเรียนรู้และศึกษาการเขียน Code ด้วยตนเองในเวลาว่าง (จนสามารถทำเป็นอาชีพได้) แต่ส่วนใหญ่ก็ Coding เป็นงานอดิเรกนอกเหนือจากเวลาทำงาน ตอนอยู่ที่บริษัทเก่า เขามีโอกาสได้เปลี่ยนทีม ทำให้ความคาดหวังของเขายิ่งสูงขึ้น เพราะต้องทำงานท่ามกลางคนที่ Senior กว่า ดังนั้น เขาจึงตั้งใจเรียนรู้ให้มากขึ้น
เช้าวันหนึ่งหลังจากการประชุมกับ SCRUM Master ซึ่งเธอได้บอกถึงความสำคัญของงานที่ทำอยู่รวมทั้งเวลาที่ไม่เคยคอยท่า เพื่อนร่วมงานคนหนึ่งก็นั่งลงและเริ่ม Coding แต่หลังจากผ่านไปประมาณ 10 นาที เขาก็หยุดเขียน Code แล้วเปิดดู Video ใน Youtube เกี่ยวกับวิธีการลับสิ่วให้คมอยู่เป็นชั่วโมง (ใช่แล้ว! มันคือวิธีการลับสิ่วให้คม จริงๆ) ในขณะที่เขากำลังดู Video อยู่ มีทั้งเพื่อนร่วมงานคนอื่น รวมทั้งเสียงรบกวนต่างๆ บ่อยครั้ง ใน 1 ชั่วโมงที่ดู Video เขาถูกขัดจังหวะอยู่สัก 5 ครั้งได้ เขาใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมงในการดู Video จากนั้นไม่นานเขาก็ลงไปทานอาหารมื้อเที่ยง จะพบว่าเมื่อใดที่เขียน Code ก็จะมีการขัดจังหวะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน ในการเปลี่ยน Focus ของคุณจากงานที่ต้องใช้ความคิด(สร้างสรรค์) แล้ว Switch กลับมาทำใหม่อีกครั้ง มันต้องการพลังงานจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อที่จะประหยัดพลังงานที่มีค่า สมองของเขาจึงเลือกที่จะรับชม Video ใน Youtube แทนการเขียน Code เพราะมันง่ายกว่านั้นเอง
ต้นทุนที่แท้จริงของการทำให้เสียสมาธิ
ก่อนอื่นคงต้องพูดถึงเรื่อง ต้นทุนแฝง(Hidden Cost) ของการทำให้เสียสมาธิ ถ้ามีคนมารบกวนสมาธิคุณ 5 นาที มันก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะผละจากงานของคุณไป 5 นาทีหรอก ถ้าคุณกำลังงานเขียน Code ที่มีความซับซ้อนอยู่ แล้วถูกรบกวนให้เสียสมาธิไป นั้นอาจทำให้คุณต้องเสียเวลาไปครึ่งวันเพื่อที่จะกลับไปมีสมาธิอย่างเดิม การ Coding มีความซับซ้อน และการที่คุณต้องใช้ความคิดที่ซับซ้อนนี้ มันต้องใช้พลังงานไปมากมายเช่นกัน หากสภาพแวดล้อมในการทำงานของคุณมีการรบกวนสมาธิการทำงานอยู่บ่อยๆ ส่วนใหญ่แล้ว Programmer/Developer/Software Engineer ของคุณจะเกิดความเครียด และอาจทำงานได้เพียง 10% ของสิ่งที่พวกเขาสามารถทำได้จริงๆ
ทีนี้กลับไปเรื่องชายที่ดู Video เรื่องสิ่วกัน : เขารู้ว่าเขาไม่สามารถ Focus ไปที่ตัวงานได้นานกว่า 20 นาทีก่อนที่จะถูกรบกวนสมาธิ ดังนั้น เขาจึงยังไม่เริ่มทำงาน และเลือกทำอย่างอื่นที่ไม่ต้องใช้สมาธิกับมันมากแทน เพื่อจะได้ไม่ต้องเปลืองพลังงานไปโดยเปล่าประโยชน์ นั่นกำลังหมายถึง 20 นาทีที่เสียไปในวันนี้ สมองของเขาถูกใช้พลังงานไปแล้ว ทั้งที่จริงมันควรเก็บไว้ใช้กับงานที่ต้องใช้ความคิดมากกว่า แทนที่จะเสียไปโดยไม่ได้งานอะไรเลย
แล้วข้อมูลอีกด้านล่ะ
จากประเด็นเรื่องเพื่อนร่วมงานที่ดู Youtube ทำให้เขาอยากรู้รายละเอียดมากขึ้นและทำให้พบว่า ในเวลาว่างนอกเหนือจากที่ทำงาน เขาได้ทำงานใน Personal Project ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาชอบจริงๆ ดังนั้น ในระหว่างช่วงที่เขาควรต้องเขียน Code เขาจะดู Video ใน Youtube ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครสนใจ เขาเสียเวลาไปเป็นชั่วโมงโดยที่ไม่ได้อะไรกลับมา และนายจ้างก็เสียเงินไปโดยเปล่าประโยชน์ด้วย เมื่อเลิกงานและกลับบ้านไป เขาก็เริ่มต้นเขียน Code และได้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมที่ควบคุมได้และมีการรบกวนให้เสียสมาธิน้อยที่สุด
มันเป็นเหตุบังเอิญไหม
Amando คิดว่าไม่ จะว่าไปแล้ว สถานที่ทำงาน นับเป็นสถานที่ “ที่แย่ที่สุด” ที่ใช้เพื่อทำงานจริง ถ้าคุณทำงานในสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถให้คุณ Focus อะไรได้นานๆ มันจะส่งผลให้สมองของคุณไม่ค่อยรู้จักการ Focus ยิ่งกว่านั้นมันส่งผลต่อความสามารถด้านการคิดและความคิดสร้างสรรค์ของคุณ ซึ่งจะนำไปสู่การทำงานที่แย่ลงและทำให้นายจ้างเสียค่าใช้จ่ายไปโดยไม่จำเป็น ซึ่งข้อมูลจาก The Telegraph พบว่า มีการรบกวนสมาธิคนทำงานร่วม 3 ชม./วัน หรือประมาณ 60 ชม./เดือน เลยทีเดียว สมมติ บริษัทจ้าง Software Engineer 20 คน ด้วยค่าตัว 30 ยูโร/ชม. นั่นหมายถึง แต่ละเดือนบริษัทจะเสียเงินไป 36,000 ยูโร/เดือน หรือประมาณ 1,391,400 บาท/เดือน ถ้าพูดในฐานะของ Software Developer คนหนึ่ง การถูกรบกวน 3 ชม./วัน มันไม่จริงเลย (น่าจะมากกว่านั้น)
แล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร
การตระหนักและรับรู้ว่าตอนนี้มีปัญหาอยู่จริง ถือเป็นขั้นแรกของการแก้ปัญหาเลย ส่วนการพูดคุยแบบเปิดใจกัน ถือเป็นขั้นต่อไป ส่วนคำตอบที่ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไรดี มี 2 แนวทางคือ
- มีความยืดหยุ่นในตารางการทำงานให้มากขึ้น
- ให้เวลาพนักงานใช้เวลาทำงานจากที่บ้านได้มากขึ้น
อันที่จริงมันก็ขึ้นอยู่กับแต่ละสภาพแวดล้อมการทำงานด้วย ขึ้นกับนโยบาย หรือแล้วแต่ว่าผู้บริหารหรือหัวหน้างานจะคิดเห็นอย่างไร คนมีความซับซ้อน ยิ่งอยู่กันเป็นกลุ่มก็ยิ่งซับซ้อน ดังนั้นแต่ละองค์กรหรือทีมงานก็ปรับกันตามความเหมาะสม เชื่อว่า บางแห่งอาจจะกลัวในเรื่องการทำงานจากที่บ้าน ซึ่งอันที่จริงคุณก็สามารถใช้ตัววัดประสิทธิภาพตามเนื้องานของแต่ละคนได้ (แต่ที่แน่ๆ จำนวนบรรทัดของ Code ไม่น่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมนัก) จากนั้นก็ดูว่าเมื่อปรับแล้ว ผลที่ออกมาเป็นอย่างไร ถ้ายังไม่ดีก็ปรับเปลี่ยนกลยุทธิ์กันไปตามที่เห็นสมควรได้
ISM Technology Recruitment Ltd. (#1 Tech Recruiter in Thailand) เราเชี่ยวชาญในธุรกิจ IT Recruitment & IT Outsourcing โดยเฉพาะ เปิดทำการกว่า 25 ปี มีพนักงานทุกสายและทุกระดับทางด้าน IT ที่ได้ร่วมงานกับลูกค้าองค์กรใหญ่ที่มีชื่อเสียงและบริษัทข้ามชาติมากมาย หากคุณเป็นคน IT ที่อยากทำงานท้าทายและร่วมงานกับองค์กรชั้นนำ สามารถฝากประวัติการทำงาน (Resume) ของคุณไว้กับ ISM ได้ที่ https://www.ismtech.net/submit-your-resume แล้วคุณจะพบว่าอนาคตและโอกาสก้าวหน้ากำลังรอคุณอยู่
Source: https://medium.com/